ไขข้อข้องใจ ทำไมผู้ใหญ่สมัยก่อนชอบบอกว่าเล่นเกมแล้วจะทำให้ทีวีเสียเร็ว เป็นเรื่องจริงหรือแค่ผู้ใหญ่หลอกเด็กกันแน่นะ ?
เชื่อว่าเด็กยุค 90s หลายคนน่าจะเคยเจอผู้ใหญ่ที่บ้านชอบบอกกันว่า "อย่าเล่นเกมเยอะ เดี๋ยวทีวีจะเสียเร็ว" ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีการอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรทำไมเล่นเกมถึงทำให้ทีวีเสียเร็ว แล้วมีอาการเสียยังไง เพราะบางทีตัวผู้ใหญ่เองก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกัน เพียงแค่ได้ยินบอกต่อ ๆ กันมา ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยกันจนถึงทุกวันนี้ ว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่สมัยก่อน (สมัยนี้ก็อาจจะยังมีอยู่) พูดนั้นเป็นเรื่องจริง หรือว่าแค่หลอกเด็กกันแน่ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจนี้กัน
ส่วนอีกปัญหาหนึ่งจะเกิดกับเครื่องเกมยุคเก่า ๆ ที่ใช้การต่อเข้ากับทีวีผ่านพอร์ต RF (เสาอากาศ) เพราะเนื่องจากยังไม่มีพอร์ต AV (เหลือง-ขาว-แดง) โดยที่หลังทีวีจะมีพอร์ต RF ให้เพียงช่องเดียว ทำให้ต้องถอดเสียบสลับสายทุกครั้งเวลาจะเล่นเกมหรือดูทีวีช่องปกติ และถ้าถอดเสียบบ่อยมาก ๆ ก็อาจส่งผลให้พอร์ตหลวมหรือมีปัญหาได้ แต่สำหรับเครื่องเกมยุคที่เริ่มใช้พอร์ต AV แล้วจะไม่มีปัญหานี้
สำหรับทีวีในยุคปัจจุบันที่เป็น LCD หรือ LED นั้น การเล่นเกมจะไม่มีผลเสียใด ๆ กับทีวีอีกต่อไปแล้ว เพราะเทคโนโลยีการแสดงภาพของ LCD จะไม่มีทางเกิด Burn-in ได้ การใช้ทีวีเล่นเกมในปัจจุบันจึงไม่ต่างอะไรกับการใช้ดูทีวีดูหนังตามปกติ และนี่ก็เป็นเหตุผลที่คอมพิวเตอร์ยุคหลัง ๆ ไม่ต้องมี Screensaver แล้วเช่นกัน นอกจากทีวีที่เป็นจอพลาสมาและ OLED นั้นยังมีโอกาสเกิด Burn-in ได้อยู่ แต่ก็ยังไม่หนักเท่าทีวี CRT ในสมัยก่อน
ก็สามารถสรุปได้ว่า การเล่นมีผลเสียต่อทีวีเฉพาะในยุคสมัยก่อนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใหญ่ที่บอกเด็กมักจะไม่รู้ถึงเหตุผลที่แท้จริง เพียงแค่ได้ยินบอกต่อ ๆ กันมา หรือผู้ใหญ่บางคนอาจจะแค่ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อไม่อยากให้เด็ก ๆ เล่นเกมเยอะก็เท่านั้น แต่สำหรับในยุคปัจจุบันที่ทีวีส่วนใหญ่เป็น LCD นั้นจะไม่มีผลเสียใด ๆ จากการเล่นเกมอีกต่อไปแล้ว เพราะฉะนั้นสบายใจได้
ภาพจาก techsawa.com
เชื่อว่าเด็กยุค 90s หลายคนน่าจะเคยเจอผู้ใหญ่ที่บ้านชอบบอกกันว่า "อย่าเล่นเกมเยอะ เดี๋ยวทีวีจะเสียเร็ว" ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีการอธิบายเหตุผลว่าเพราะอะไรทำไมเล่นเกมถึงทำให้ทีวีเสียเร็ว แล้วมีอาการเสียยังไง เพราะบางทีตัวผู้ใหญ่เองก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกัน เพียงแค่ได้ยินบอกต่อ ๆ กันมา ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยกันจนถึงทุกวันนี้ ว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่สมัยก่อน (สมัยนี้ก็อาจจะยังมีอยู่) พูดนั้นเป็นเรื่องจริง หรือว่าแค่หลอกเด็กกันแน่ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจนี้กัน
การเล่นเกมนั้นมีผลเสียกับทีวีจริง แต่เฉพาะกับทีวีในยุคสมัยก่อนที่ยังเป็นทีวีแบบจอแก้ว CRT โดยหลัก ๆ จะเป็นปัญหา Burn-in ที่เกิดจากการแสดงภาพที่มีบางจุดค้างนิ่งอยู่บนหน้าจอนาน ๆ เช่น โลโก้ช่องทีวีมุมจอ ทำให้เมื่อภาพในจอเปลี่ยนไปแล้วแต่ยังมีโลโก้ติดค้างบนจออยู่แบบจาง ๆ ซึ่งในการเล่นเกมส่วนใหญ่มักจะมีอินเทอร์เฟซในเกมที่แสดงอยู่เกือบตลอดและไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ทำให้มีโอกาสเกิด Burn-in ได้มากกว่าการดูทีวีปกติ และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์สมัยก่อนต้องมี Screensaver สำหรับป้องกันหน้าจอ Burn-in นั่นเอง แต่ว่าการที่จะเกิดการ Burn-in ได้นั้นจะต้องมีภาพค้างบนหน้าจอเป็นเวลานานมาก ๆ ซึ่งโอกาสเกิดขึ้นมีไม่มากนัก
ส่วนอีกปัญหาหนึ่งจะเกิดกับเครื่องเกมยุคเก่า ๆ ที่ใช้การต่อเข้ากับทีวีผ่านพอร์ต RF (เสาอากาศ) เพราะเนื่องจากยังไม่มีพอร์ต AV (เหลือง-ขาว-แดง) โดยที่หลังทีวีจะมีพอร์ต RF ให้เพียงช่องเดียว ทำให้ต้องถอดเสียบสลับสายทุกครั้งเวลาจะเล่นเกมหรือดูทีวีช่องปกติ และถ้าถอดเสียบบ่อยมาก ๆ ก็อาจส่งผลให้พอร์ตหลวมหรือมีปัญหาได้ แต่สำหรับเครื่องเกมยุคที่เริ่มใช้พอร์ต AV แล้วจะไม่มีปัญหานี้
สำหรับทีวีในยุคปัจจุบันที่เป็น LCD หรือ LED นั้น การเล่นเกมจะไม่มีผลเสียใด ๆ กับทีวีอีกต่อไปแล้ว เพราะเทคโนโลยีการแสดงภาพของ LCD จะไม่มีทางเกิด Burn-in ได้ การใช้ทีวีเล่นเกมในปัจจุบันจึงไม่ต่างอะไรกับการใช้ดูทีวีดูหนังตามปกติ และนี่ก็เป็นเหตุผลที่คอมพิวเตอร์ยุคหลัง ๆ ไม่ต้องมี Screensaver แล้วเช่นกัน นอกจากทีวีที่เป็นจอพลาสมาและ OLED นั้นยังมีโอกาสเกิด Burn-in ได้อยู่ แต่ก็ยังไม่หนักเท่าทีวี CRT ในสมัยก่อน
ก็สามารถสรุปได้ว่า การเล่นมีผลเสียต่อทีวีเฉพาะในยุคสมัยก่อนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใหญ่ที่บอกเด็กมักจะไม่รู้ถึงเหตุผลที่แท้จริง เพียงแค่ได้ยินบอกต่อ ๆ กันมา หรือผู้ใหญ่บางคนอาจจะแค่ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อไม่อยากให้เด็ก ๆ เล่นเกมเยอะก็เท่านั้น แต่สำหรับในยุคปัจจุบันที่ทีวีส่วนใหญ่เป็น LCD นั้นจะไม่มีผลเสียใด ๆ จากการเล่นเกมอีกต่อไปแล้ว เพราะฉะนั้นสบายใจได้
ภาพจาก techsawa.com