คันน้องชาย ปัญหาที่หนุ่ม ๆ ไม่ควรมองข้าม มาดูกันว่าอาการคันอวัยวะเพศชาย คันบริเวณอัณฑะ เกิดจากสาเหตุใด เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีป้องกันรักษาโรคผิวหนังในที่ลับ
ทั้งนี้เข้าใจว่าหลายคนที่มีอาการคันบริเวณอวัยวะเพศ จะรู้สึกเขินอายและไม่กล้าพบแพทย์หรือถามผู้เชี่ยวชาญ เบื้องต้นกระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมโรคที่มีอาการคันตรงอวัยวะเพศชาย พร้อมสาเหตุและวิธีป้องกัน มาให้หนุ่ม ๆ ได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นกันครับ
อาการคันน้องชาย เกิดจากโรคใดได้บ้าง ?
1. โรคสังคัง (Tinea Cruris)
โรคติดเชื้อราบนผิวหนังที่มักเกิดตรงบริเวณขาหนีบ ต้นขาด้านใน อวัยวะเพศ หรือตามจุดที่มีความอับชื้น ซึ่งสามารถลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณใกล้เคียง เช่น หน้าท้อง ก้น หรือแพร่กระจายสู่ผู้อื่นผ่านการใช้สิ่งของร่วมกันได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ มาจากการใส่เสื้อผ้าเปียกชื้น ไม่สะอาด มีการหมักหมม ทำให้เชื้อราเติบโตได้เร็วและเกิดการติดเชื้อตามมา ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคนที่มีภาวะเหงื่อออกมาก นักกีฬา โรคอ้วน และคนที่ไม่ค่อยรักษาความสะอาด
ลักษณะของสังคัง : บริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ จะเกิดเป็นผื่นสีแดงและมีขอบผื่นนูนขึ้นมา สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน บางรายมีอาการผิวลอก ผิวแตกเป็นขุยสีขาว ๆ ซึ่งส่วนมากจะมีลักษณะเป็นแผ่นหรือวงกลม
อาการของสังคัง : ตรงบริเวณที่เกิดวงผื่น จะมีอาการคัน เจ็บ และแสบร้อนตลอดเวลา ยิ่งไปสะกิดโดน หรือมีการเสียดสีจะยิ่งคันมาก ๆ
วิธีป้องกันรักษา : ง่ายที่สุดคือป้องกันด้วยการดูแลความสะอาด และหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าเปียก อับชื้น หรือซ้ำติดต่อกันหลายวัน หากต้องทำกิจกรรมที่มีเหงื่อ ควรทำความสะอาดให้ดี หรือเปลี่ยนชุดใหม่ไปเลย ส่วนการรักษาจะใช้วิธีทายา ทาครีม หรือพ่นสเปรย์ต้านเชื้อ ที่บริเวณวงผื่นโดยตรง หากอาการไม่ดีขึ้นและมีการขยายตัวเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อรับการรักษาหรือขอยาปฏิชีวนะ
โลน คือ ตัวปรสิตขนาดเล็กที่เข้ามาอาศัยตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เพื่อคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร โดยพบได้มากที่สุดตรงบริเวณอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง โดยสาเหตุของโลน ส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการสัมผัสตัวกับคนที่มีตัวโลนเกาะอยู่ และการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งต่อให้รักษาความสะอาดอย่างดีหรือใส่ถุงยางอนามัยก็ไม่สามารถป้องกันได้
ลักษณะของโลน : จะมีตุ่มเลือดแห้งสีดำ หรือสีแดงเม็ดเล็ก ๆ ขึ้นตามร่างกายส่วนที่มีขน มีรอยช้ำบริเวณที่โดนดูดเลือด หากตัวโลนโตเต็มที่จะสามารถมองเห็นตัวมันได้ด้วยตาเปล่า
อาการของโลน : คนที่ติดโลนมา จะมีอาการคันมาก ๆ ตรงบริเวณอวัยวะเพศหรือส่วนที่มีเส้นขน และยิ่งคันหนักขึ้นในช่วงกลางคืน บางรายมีอาการไข้ต่ำ หงุดหงิด หมดแรง แทรกซ้อนเข้ามาด้วย
วิธีป้องกันรักษา : ควรหลีกเลี่ยงการมีกิจกรรมใกล้ชิด เช่น กอด จูบ หรือใช้เสื้อผ้าร่วมกันกับผู้ที่ติดโลน นี่คือวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ด้านการรักษา ตามร้านขายยาทั่วไปจะมีผลิตภัณฑ์พวกแชมพู ครีม สำหรับกำจัดพวกปรสิตเหล่านี้จำหน่ายอยู่แล้ว ซึ่งควรใช้ติดต่อกันอย่างน้อย 7-10 วัน เพื่อป้องกันไข่โลนตกค้าง หากยังมีอาการคันหลงเหลือให้ลองโกนขนบริเวณนั้น ๆ ออก แล้วทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าห่ม ด้วยน้ำอุณหภูมิสูง ถ้าไม่หายจริง ๆ ให้เข้าพบแพทย์ผิวหนัง
3. โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) หรือ เรื้อนกวาง
โรคผิวหนังอักเสบแบบเรื้อรังที่พบได้บ่อย ๆ แต่หลายคนไม่รู้ตัว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ถูกกระตุ้นให้กำเริบได้ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เช่น ภาวะทางจิตใจ ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อวัยวะภายในทำงานผิดปกติ รวมถึงการรับประทานอาหาร ระคายเคืองจากการสัมผัสสารเคมีหรือกรดบางชนิด
ลักษณะของโรคสะเก็ดเงิน : การอักเสบแสดงออกได้หลายรูปแบบมาก ๆ ทั้ง ชนิดผื่นหนา นูนแดง มีขอบชัดเจน, ชนิดผื่นแดงขนาดเล็ก เป็นเม็ด ๆ ขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร, ชนิดตุ่มหนอง และชนิดผิวแดงหลุดลอก ซึ่งควรให้แพทย์ผิวหนังเป็นผู้วินิจฉัย
อาการของโรคสะเก็ดเงิน : แต่ละชนิดจะมีอาการแตกต่างกันออกไป หลัก ๆ เลย คือ อาการคัน เจ็บ หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณผิวหนังที่อักเสบ
เนื่องจากผิวหนังตรงจุดนั้นค่อนข้างอ่อนโยน
จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่ายหากไม่รักษาความสะอาด
โดยทั่วอาการดังกล่าวจะเกิดจากการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า แคนดิดา (Candida)
ซึ่งยิ่งหมักหมมสกปรกมากเท่าไหร่ เชื้อยิ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้น
นอกจากนี้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หนองใน หรือโรคสะเก็ดเงิน
ก็ทำให้เกิดการอักเสบตรงปลายอวัยวะเพศได้เช่นกัน
ลักษณะของโรคอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ : สังเกตที่ตรงส่วนปลายองคชาต จะบวมและแดงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บางรายระคายเคืองหนัก ถึงขั้นมีของเหลวเหมือนน้ำหนองข้น ๆ ไหลออกมา และมีกลิ่นเหม็น
อาการของโรคอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ : ทั่วไปจะมีอาการคันตรงบริเวณหนังหุ้มปลาย รู้สึกเจ็บ ปวดเล็กน้อยเวลาปัสสาวะ หากรุนแรงมากจะรู้สึกคัน และปวดไปทั่วทั้งหัวองคชาต
วิธีป้องกันรักษา : ลดความเสี่ยงได้โดยการหมั่นดูแลทำความสะอาดหนังหุ้มปลายเป็นประจำ และสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ส่วนการรักษา ในกรณีอาการไม่รุนแรงมาก แค่ทำความสะอาดบ่อย ๆ ก็ดีขึ้นแล้ว แต่หากเป็นหนักควรพบแพทย์เพื่อขอยาปฏิชีวนะ หรือยารักษาเฉพาะทางมากิน
อาการแบบไหนควรรีบพบแพทย์ ?
จากข้อมูลทั้งหมดที่เราได้นำเสนอไปนั้น จะเห็นว่าหัวใจสำคัญของการป้องกันและบรรเทาอาการคันบริเวณอัณฑะ คือการรักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาดอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่มีอาการคันให้ลองเช็กโรคข้างต้นดูก่อน แล้วลองนำวิธีรักษาและป้องกันไปใช้บรรเทาอาการได้ แต่หากพบอาการแปลก ๆ ควรไปพบแพทย์ผิวหนังจะเป็นการดีที่สุดครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com, honestdocs.co
เชื่อว่าผู้ชายทุกคนต้องเคยเจออาการคันในร่มผ้า ตรงบริเวณแถว ๆ จุดยุทธศาสตร์แน่นอน ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพแล้ว ยังเสี่ยงเป็นโรคผิวหนังร้ายแรงอีกด้วย ได้ยินอย่างนี้แล้วหนุ่ม ๆ ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป บางทีอาการคันเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจเป็นแค่อาการคันในร่มผ้า หรือระคายเคืองสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้เฉย ๆ ไม่ได้เป็นอะไรมาก แต่ในกรณีที่อาการรุนแรง คันมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ควรได้รับการดูแลและเฝ้าระวังทันที
ทั้งนี้เข้าใจว่าหลายคนที่มีอาการคันบริเวณอวัยวะเพศ จะรู้สึกเขินอายและไม่กล้าพบแพทย์หรือถามผู้เชี่ยวชาญ เบื้องต้นกระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวมโรคที่มีอาการคันตรงอวัยวะเพศชาย พร้อมสาเหตุและวิธีป้องกัน มาให้หนุ่ม ๆ ได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นกันครับ
อาการคันน้องชาย เกิดจากโรคใดได้บ้าง ?
1. โรคสังคัง (Tinea Cruris)
โรคติดเชื้อราบนผิวหนังที่มักเกิดตรงบริเวณขาหนีบ ต้นขาด้านใน อวัยวะเพศ หรือตามจุดที่มีความอับชื้น ซึ่งสามารถลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณใกล้เคียง เช่น หน้าท้อง ก้น หรือแพร่กระจายสู่ผู้อื่นผ่านการใช้สิ่งของร่วมกันได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ มาจากการใส่เสื้อผ้าเปียกชื้น ไม่สะอาด มีการหมักหมม ทำให้เชื้อราเติบโตได้เร็วและเกิดการติดเชื้อตามมา ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคนที่มีภาวะเหงื่อออกมาก นักกีฬา โรคอ้วน และคนที่ไม่ค่อยรักษาความสะอาด
ลักษณะของสังคัง : บริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ จะเกิดเป็นผื่นสีแดงและมีขอบผื่นนูนขึ้นมา สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน บางรายมีอาการผิวลอก ผิวแตกเป็นขุยสีขาว ๆ ซึ่งส่วนมากจะมีลักษณะเป็นแผ่นหรือวงกลม
อาการของสังคัง : ตรงบริเวณที่เกิดวงผื่น จะมีอาการคัน เจ็บ และแสบร้อนตลอดเวลา ยิ่งไปสะกิดโดน หรือมีการเสียดสีจะยิ่งคันมาก ๆ
วิธีป้องกันรักษา : ง่ายที่สุดคือป้องกันด้วยการดูแลความสะอาด และหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าเปียก อับชื้น หรือซ้ำติดต่อกันหลายวัน หากต้องทำกิจกรรมที่มีเหงื่อ ควรทำความสะอาดให้ดี หรือเปลี่ยนชุดใหม่ไปเลย ส่วนการรักษาจะใช้วิธีทายา ทาครีม หรือพ่นสเปรย์ต้านเชื้อ ที่บริเวณวงผื่นโดยตรง หากอาการไม่ดีขึ้นและมีการขยายตัวเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อรับการรักษาหรือขอยาปฏิชีวนะ
2. โลน (Pubic Lice)
ลักษณะของโลน : จะมีตุ่มเลือดแห้งสีดำ หรือสีแดงเม็ดเล็ก ๆ ขึ้นตามร่างกายส่วนที่มีขน มีรอยช้ำบริเวณที่โดนดูดเลือด หากตัวโลนโตเต็มที่จะสามารถมองเห็นตัวมันได้ด้วยตาเปล่า
อาการของโลน : คนที่ติดโลนมา จะมีอาการคันมาก ๆ ตรงบริเวณอวัยวะเพศหรือส่วนที่มีเส้นขน และยิ่งคันหนักขึ้นในช่วงกลางคืน บางรายมีอาการไข้ต่ำ หงุดหงิด หมดแรง แทรกซ้อนเข้ามาด้วย
วิธีป้องกันรักษา : ควรหลีกเลี่ยงการมีกิจกรรมใกล้ชิด เช่น กอด จูบ หรือใช้เสื้อผ้าร่วมกันกับผู้ที่ติดโลน นี่คือวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ด้านการรักษา ตามร้านขายยาทั่วไปจะมีผลิตภัณฑ์พวกแชมพู ครีม สำหรับกำจัดพวกปรสิตเหล่านี้จำหน่ายอยู่แล้ว ซึ่งควรใช้ติดต่อกันอย่างน้อย 7-10 วัน เพื่อป้องกันไข่โลนตกค้าง หากยังมีอาการคันหลงเหลือให้ลองโกนขนบริเวณนั้น ๆ ออก แล้วทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าห่ม ด้วยน้ำอุณหภูมิสูง ถ้าไม่หายจริง ๆ ให้เข้าพบแพทย์ผิวหนัง
โรคผิวหนังอักเสบแบบเรื้อรังที่พบได้บ่อย ๆ แต่หลายคนไม่รู้ตัว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ถูกกระตุ้นให้กำเริบได้ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เช่น ภาวะทางจิตใจ ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อวัยวะภายในทำงานผิดปกติ รวมถึงการรับประทานอาหาร ระคายเคืองจากการสัมผัสสารเคมีหรือกรดบางชนิด
ลักษณะของโรคสะเก็ดเงิน : การอักเสบแสดงออกได้หลายรูปแบบมาก ๆ ทั้ง ชนิดผื่นหนา นูนแดง มีขอบชัดเจน, ชนิดผื่นแดงขนาดเล็ก เป็นเม็ด ๆ ขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร, ชนิดตุ่มหนอง และชนิดผิวแดงหลุดลอก ซึ่งควรให้แพทย์ผิวหนังเป็นผู้วินิจฉัย
อาการของโรคสะเก็ดเงิน : แต่ละชนิดจะมีอาการแตกต่างกันออกไป หลัก ๆ เลย คือ อาการคัน เจ็บ หรือรู้สึกแสบร้อนบริเวณผิวหนังที่อักเสบ
วิธีป้องกันรักษา : อย่างที่บอกโรคสะเก็ดเงินเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย จึงไม่มีวิธีป้องกันแบบสมบูรณ์ แต่แนะนำให้ดูแลความสะอาดร่างกาย และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะกระตุ้นโรคให้กำเริบ ในส่วนการรักษามีหลายวิธี เช่น การทายาตรงผิวหนังที่เป็น, การฉายแสง และการกินยา ซึ่งต้องให้แพทย์ผิวหนัง หรือเภสัชกรวินิจฉัยชนิดของโรคให้ชัดเจน และทำตามคำแนะนำ
4. โรคอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศชาย (Balanitis)
ลักษณะของโรคอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ : สังเกตที่ตรงส่วนปลายองคชาต จะบวมและแดงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บางรายระคายเคืองหนัก ถึงขั้นมีของเหลวเหมือนน้ำหนองข้น ๆ ไหลออกมา และมีกลิ่นเหม็น
อาการของโรคอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ : ทั่วไปจะมีอาการคันตรงบริเวณหนังหุ้มปลาย รู้สึกเจ็บ ปวดเล็กน้อยเวลาปัสสาวะ หากรุนแรงมากจะรู้สึกคัน และปวดไปทั่วทั้งหัวองคชาต
วิธีป้องกันรักษา : ลดความเสี่ยงได้โดยการหมั่นดูแลทำความสะอาดหนังหุ้มปลายเป็นประจำ และสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ส่วนการรักษา ในกรณีอาการไม่รุนแรงมาก แค่ทำความสะอาดบ่อย ๆ ก็ดีขึ้นแล้ว แต่หากเป็นหนักควรพบแพทย์เพื่อขอยาปฏิชีวนะ หรือยารักษาเฉพาะทางมากิน
อาการแบบไหนควรรีบพบแพทย์ ?
- มีอาการคัน เจ็บ หรือแสบมาก
- ปัสสาวะแสบขัด รู้สึกเจ็บขณะปัสสาวะหรือหลั่งน้ำอสุจิ
- มีน้ำเลือกหรือหนองไหลออกมาจากรูปัสสาวะ
- พบตุ่มหรือก้อนบริเวณที่คัน
- รู้สึกเจ็บปวดบริเวณขาหนีบ
- มีไข้ รู้สึกปวดเนื้อเมื่อยตัว
- รักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ดีขึ้น
จากข้อมูลทั้งหมดที่เราได้นำเสนอไปนั้น จะเห็นว่าหัวใจสำคัญของการป้องกันและบรรเทาอาการคันบริเวณอัณฑะ คือการรักษาสุขอนามัยของตัวเองให้สะอาดอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่มีอาการคันให้ลองเช็กโรคข้างต้นดูก่อน แล้วลองนำวิธีรักษาและป้องกันไปใช้บรรเทาอาการได้ แต่หากพบอาการแปลก ๆ ควรไปพบแพทย์ผิวหนังจะเป็นการดีที่สุดครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com, honestdocs.co