อยากเป็นตำรวจต้องทำยังไง ?
การสมัครเข้าเป็นตำรวจ ประเภทนักเรียน
(มัธยมศึกษาปีที่ 4)
1. โรงเรียนเตรียมทหาร เหล่าตำรวจ
การสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เพื่อเลือกเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถือเป็นโอกาสแรกสำหรับคนที่อยากจะทำอาชีพนี้ โดยผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติ ต้องเป็นเพศชายเท่านั้น เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า และต้องจบจากสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ รวมถึงมีอายุอยู่ระหว่าง 16 - 18 ปีบริบูรณ์
วิธีนี้จะแบ่งการคัดเลือกเป็น 2 รอบด้วยกัน รอบแรกคือการสอบภาควิชาการ ได้แก่วิชาหลักอย่าง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย โดยคนที่สอบผ่านจะมีโอกาสได้สอบสัมภาษณ์ และทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายต่อไป ก่อนจะคัดเลือกให้เหลือตามจำนวนที่ต้องการในแต่ละปี ส่วนใหญ่แล้วจะมีผู้สมัครหลักหมื่นคนและรับเพียงหลักร้อยคนเท่านั้น คนที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารตามหลักสูตร 2 ปี และเรียนต่อที่โรงเรียนนายน้อยตำรวจอีก 2 ปี เมื่อเรียนจบปีที่ 4 จะได้รับการแต่งตั้งยศ ร้อยตำรวจตรี และถูกบรรจุเข้าทำงานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
2. โรงเรียนเตรียมทหาร เหล่าตำรวจน้ำ
การสมัครและสอบเข้าเป็นตำรวจ ประเภทนักเรียน
(มัธยมศึกษาปีที่ 6, ปวช. และ ปวส.)
1. โรงเรียนนายสิบตำรวจ
2. โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ตำรวจน้ำ
การสมัครและสอบเข้าเป็นตำรวจ
ประเภทบุคคลภายนอก
ปริญญาตรี
ในส่วนของสายอำนวยการหน่วย เช่น ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พิสูจน์หลักฐาน รวมถึงหน่วยอื่น ๆ จะมีการรับสมัครกำลังพลแบบรายปีเช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ต่อไปนี้
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)
สำนักงานพิสูจน์หลักฐาน
กองเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กองดุริยางค์ตำรวจ
ผู้สมัครจะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี มีความรู้ความสามารถด้านดนตรี ดุริยางค์ไทยหรือสากล เมื่อสอบผ่านจะได้รับยศสิบตำรวจตรี ถ้ารับราชการครบ 1 ปี จะมีสิทธิสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย
นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของกองสรรพาวุธ สำนักงานส่งกำลังบำรุง กองโยธา กองต่างประเทศ ซึ่งจะเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปที่เรียนจบปริญญาตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาเป็นตำรวจชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตร โดยจำนวนการรับสมัครในแต่ละปี จะมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับงบประมาณและตำแหน่งที่ว่าง
อยากเป็นตำรวจต้องเรียนคณะอะไร ?
หลักสูตรปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ
มหาวิทยาลัยทักษิณ (วิทยาเขตสงชลา)
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการบริการงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม
หลักสูตรปริญญาโท
มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
มหาวิทยาลัยรังสิต
- สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม
หลักสูตรระดับปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์ สาขาการบริการงานยุติธรรม
ตำรวจเงินเดือนเท่าไร มีสวัสดิการอะไรให้บ้าง ?
เงินเดือนของตำรวจถูกกำหนดเอาไว้ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 โดยแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ ป.1 จนถึง ส.5 ซึ่งแต่ละระดับขั้นจะมีฐานเงินเดือนแตกต่างกันยังไง มาดูกัน
เริ่มจากตำรวจชั้นประทวนที่มียศต่ำกว่าจ่าสิบตำรวจ จะได้รับเงินเดือน ป.1 คือ 4,570 - 21,480 ส่วนคนที่ติดยศเป็น จ่าสิบตำรวจ หรือ จ่าสิบตำรวจ (พิเศษ ) จะได้รับเงินเดือนขั้น ป.2 คือเริ่มที่ 7,140 - 29,690 บาท และหากเลื่อนขั้นขึ้นสู่ยศสูงสุดของตำรวจในระดับประทวนอย่าง ดาบตำรวจ จะถูกปรับเงินเดือนเป็น ป.3 โดยได้รับเริ่มต้นที่ 10,350 บาท รับสูงสุด 38,750 บาท
ในส่วนของตำรวจชั้นสัญญาบัตร ฐานเงินเดือนจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นด้วยกันคือ
- ตำรวจยศร้อยตำรวจตรี ไปจนถึง ยศร้อยตำรวจเอก จะได้รับเงินใน ส.1 คือ 6,470 บาท รับสูงสุดที่ 38,750 บาท
- ยศพันตำรวจตรี จะได้รับเงินเดือน ส.2 คือ 13,160 บาท รับสูงสุด 38,750 บาท
- ยศพันตำรวจโท จะได้รับเงินเดือน ส.3 คือ 16,190 บาท รับสูงสุด 54,820 บาท
- ยศพันตำรวจเอก จะได้รับเงินเดือน ส.4 คือ 19,860 บาท รับสูงสุด 58,390 บาท
- ยศพันตำรวจเอก (พิเศษ) จะได้รับเงินเดือน ส.5 คือ 24,400 - 69,040 บาท
อย่างไรก็ตามเงินเดือนที่กล่าวมาทั้งหมด ยังไม่นับ เงินประจำตำแหน่งของสายงาน ปราบปราม, สืบสวน และจราจร อีกประมาณ 3,000 บาทขึ้นไป เงินรางวัลค่าปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน (เฉพาะสายงานจราจร) นอกจากนี้ ยังมีเงินเบี้ยเลี้ยง และรางวัลนำจับ รวมถึงมีการปรับพิจารณาปรับขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง
ส่วนสวัสดิการของคนที่รับราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่นายสิบตำรวจขึ้นไป เรียกว่ามีการดูแลและสนับสนุนในหลาย ๆ ด้าน ประกอบไปด้วย
- มีอาคารบ้านพักของราชการ กรณีไม่มีบ้านพัก สามารถเบิกค่าเช่าที่พักได้
- ค่าตัดเครื่องแบบ จำนวน 2,000
- เบิกค่าเล่าเรียนบุตร-ธิดาได้ 3 คน จนกระทั่งมีอายุครบ 25 ปี
- สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลพ่อ-แม่ ภรรยาและลูก
- เบี้ยเลี้ยงค่าเดินทางไปราชการทั้งในและนอกประเทศ
- เงินเพิ่มพิเศษตามตำแหน่งงาน และค่าล่วงเวลา
- สวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย
- สวัสดิการเงินกู้กองกลาง ตร.
- สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ
- เงินและกองทุนบำเหน็จบำนาญ
- เงินช่วยเหลือข้าราชการตำรวจที่เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่
- ลาพักผ่อนได้สูงสุด 30 วัน ลากิจได้ 45 วัน ลาอุปสมบทได้ 120 วัน และลาศึกษาต่อได้ 4 ปี (ได้รับเงินเดือน)
ทั้งหมดคือข้อมูลคร่าว ๆ สำหรับคนที่สนใจอยากสมัครหรือสอบเข้าเป็นข้าราชการตำรวจ ทั้งชั้นประทวนและสัญญาบัตร อย่างไรก็ตาม การรับสมัครแต่ละครั้งมักถูกประกาศโดยหน่วยงานรัฐ ซึ่งอาจกระจายข่าวได้ไม่ทั่วถึง ทางที่ดีแนะนำว่าติดตามเว็บไซต์ royalthaipolice.go.th เอาไว้เลยดีกว่าครับ รับรองว่าไม่พลาดข่าวการสอบต่าง ๆ แน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจาก : royalthaipolice.go.th, admissionpremium.com, thaicadet.org, gurupoliceacademy.com, sordd.com, nine100.com