เคยมั้ย…ที่อยู่ดีๆ ก็รู้สึกผูกพันกับใครก็ไม่รู้จัก หรือเพียงเห็นหน้าแค่เพียงแว๊บเดียว ก็รู้สึกว่านี่แหละใช่เลย!!
เคยมั้ย…ที่ตกหลุมรักใครสักคนเป็นเวลานานแสนนาน ไม่เคยเปลี่ยนแปลงแม้แค่จะไม่ได้คบกันก็ตาม
และเคยมั้ย…เมื่อมีกิจกรรมทางเพศกันไปแล้ว ยิ่งทำให้รู้สึกยึดติด และสนิทกันมากขึ้น
หลายคนอาจเคยผ่านความรู้สึกแบบนี้กันมาบ้าง แต่ก็หาเหตุผลไม่เจอว่ามันเป็นเพราะอะไร แต่วันนี้ เรามาไขข้อสงสัยนี้ กับ อ๊อกซิโตซิน ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน
ออกซิโทซินนั้นถูกสังเคราะห์โดยเซลล์ที่ชื่อ magnocellular neurosecretory cells ที่อยู่ในกลุ่มของเซลล์ประสาทที่ชื่อว่า supraoptic nucleus และ paraventricular nucleus ของสมองส่วนไฮโปธาลามัส นอกจากออกฤทธิ์เป็นสารสื่อประสาทแล้ว ยังถูกส่งไปยังต่อมพิธูอิตารีเพื่อหลั่งสู่กระแสเลือดจากต่อมพิธูอิตารีไปทำหน้าที่ในอวัยวะที่อยู่ห่างไกล ซึ่งเราจัดว่าเป็นคุณสมบัติของฮอร์โมน (neurohypophyseal hormone) ออกซิโทซินมีบทบาทสำคัญในหลายอวัยวะโดยเฉพาะในสามส่วนหลัก คือ ไฮโปธาลามัส ต่อมพิธูอิตารี (pituitary gland) และต่อมหมวกไต ที่เรียกว่า hypothalamic pituitary adrenal (HPA) axis
ซึ่งปัจจุบันนี้มีการศึกษาวิจัย เรื่องประสาทวิทยาของต่อมไร้ท่อมาเป็นเวลาช้านานถึงบทบาทในด้านความผูกพันทางสังคม (social attachments) และความรัก ทำหน้าที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดกระบวนการสืบพันธุ์ ทำให้รู้สึกว่ามีความปลอดภัย รวมทั้งยังช่วยลดความกังวลและความเครียดได้อีกทาง
ออกซิโทซิน: ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนภายนอกสมอง
เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศ โดยพบว่าช่วงระยะจุดสุดยอดของการมีเพศสัมพันธ์ (orgasm) มีปริมาณออกซิโทซินในเลือดสูงขึ้น และยังเชื่อว่ามีส่วนช่วยลำเลียงอสุจิในระหว่างการหลั่งน้ำเชื้อ (ejaculation) ของผู้ชายอีกด้วย
ออกซิโทซิน: ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนภายในสมอง
ออกซิโทซินสร้างความตื่นตัวทางเพศ พบว่าถ้าฉีดออกซิโทซินเขาไปในน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ของเจ้าหนูทำให้อวัยวะเพศตั้งตัวขึ้นได้เอง (spontaneous erection)
ออกซิโทซินมีผลต่อการการจับคู่ ในสมองของผู้หญิงหลั่งออกซิโทซินเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีกิจกรรมทางเพศ และทำให้เขาปักใจรักเดียว ใจเดียวกับคู่ขาคนนั้น และยังพบว่าระดับของออกซิโทซินในเลือดสูงขึ้นในคนที่กำลังตกหลุมรักอีกด้วย
ความรู้สึกถวิลหา อยากอยู่ด้วยแบบใกล้ชิดนี่คงจะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของออกซิโทซิน ฮอร์โมนแห่งความผูกพัน ด้วยสินะ??