ฉบับก่อนนำข้อมูลเกี่ยวกับ ต่อมลูกหมากโต มาฝากเพราะอยากให้บุตรหลานและคุณป้าคุณลุงช่วยดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยที่เริ่มเข้าสู่วัยชราแต่อายุ 40 ขึ้นไป ยังไม่ชราแต่ก็ควรระวังต่อมลูกหมากโต หายขาดก็โชคดีไป แต่มีบางคนมักจะเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมากตามมาหลังการผ่าตัด 3-4 ปี สถิติจากคนใกล้ตัวทั้งคุณตา คุณลง และเพื่อนบ้านของคุณลุง ซึ่งเคยได้คุยกับแพทย์ที่รพ.เปาโล หลังจากนำคุณพ่อผ่าตัดต่อมลูกหมากโต และรอผลมะเร็งอีก 1 สัปดาห์ต่อมา คุณพ่อไม่มีเชื้อมะเร็ง แต่คุณหมอแนะนำว่าควรจะตรวจหามะเร็งต่อมลกหมากอย่างน้อย ๆ ปีละครั้งถ้าพบก่อนจะได้รับการรักษาก่อนทันท่วงทีฉบับนี้ขอคัดลอกข้อมูลเกี่ยวกับ โรคมะเร็งต่อมลูกหมากจากโรงพยาบาลกรุงเทพมาให้อ่านเพื่อเป็นความรู้เราจะได้ไม่ละเลยต่อสุขภาพของเราและของคนใกล้ตัว
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer) เป็นโรคที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ชาย รองจากมะเร็งปอดพบว่าผู้ชาย 1 คน ในทุก 10 คน จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
เป็นที่น่าเสียดายว่า มะเร็งต่อมลูกหมากมักไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทั่ว ๆ ไป เนื่องจากการศึกษาในศพของผู้ชายในอายุต่าง ๆ กันที่เสียชีวิตด้วยสาเหตุต่าง ๆ กัน และไม่เคยเป็นโรคของต่อมลูกหมากเลย พบว่าไม่ต่ำกว่า 15% ของผู้ชายที่มีอายุ 50 ปี 30% ของผู้ชาย อายุ 60 ปี และ 40% ของผู้ชาย 70 ปี มีมะเร็งต่อมลูกหมากโดยที่มีได้คาดคิด
ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย อยู่ตรงคอกระเพาะปัสสาวะหุ้มอยู่รอบท่อปัสสาวะ ส่วนต้นทางด้านหน้าของท่อทวารหนักขนาดปกติ กว้าง × ยาว × หนา ราว 3 × 4 × 2 ซม. น้ำหนักประมาณ 1 ออนซ์ รูปร่างคล้ายลูกแพร์กลับหัว หรือลูกเกาลัด ต่อมลูกหมากเป็นโรงงานสร้างน้ำเมือกหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย บางคนเรียกว่าเป็นต่อมเพศชาย บางคนเรียกว่าเป็นต่อมเสริม บางทีก็เรียกว่า ต่อมสร้างของเหลวผู้หญิงไม่มีต่อมลูกหมาก
สาเหตุ
- อายุ โรคมะเร็งต่อมลูกหมากพบได้น้อยมากในผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 45 ปี เมื่ออายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มมากขึ้น
- ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติบิดาหรือพี่น้องชายเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้น
- ชนิดของเซลล์ในต่อมลูกหมาก การตรวจเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากด้วยกล้องจุลทรรศน์ แล้วพบเซลล์ชนิดที่เรียกว่า PIN จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
- อาหารที่มีไขมันสูง เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผักและผลไม้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
อาการ
- ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ แต่อย่างใด จนเมื่อก้อนมะเร็งโตลุกลามไปอุดท่อปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย เจ็บปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ บางครั้งมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ บางรายอาจมีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
- ในระยะท้าย ๆ เมื่อมะเร็งกระจายลุกลามไปทั่วร่างกายแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดกระดูก ปวดตามข้อ ปวดหลัง น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาการปัสสาวะขัด ปวดเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะถี่ขึ้น และมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ อาการดังกล่าวนี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
การวินิจฉัย
- การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก แพทย์จะทำการตรวจต่อมลูกหมาก โดยใช้นิ้วสอดเข้าไปทางรูทวารหนัก เพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่าง และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก มักใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที หากเป็นมะเร็งมักคลำได้ก้อนแข็ง การคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนักเป็นการตรวจสิ่งผิดปกติได้อย่างชัดเจน
- การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือดที่สำคัญ คือ พีเอสเอ สารชนิดนี้จะถูกผลิตออกมามากกว่าปกติ ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงสามารถวัดค่าได้โดยการเจาะเลือด การตรวจเลือดหาระดับของสารพีเอสเอในเลือด ในคนปกติค่าพีเอสเอจะอยู่ในระดับ 0-4 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ค่านี้จะสูงมากเกิน 10 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ในคนที่เป็นโรคมะเร็งต่อลูกหมาก
- การตรวจอัลตราซาวนด์ของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียง โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจหาต่อมลูกหมาก หากเป็นมะเร็งสามารถเห็นได้
- การตัดชิ้นเนื้อ เมื่อแพทย์ตรวจพบก้อนเนื้อที่สงสัย แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมาก เพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาดูว่า เป็นมะเร็งจริงหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะตัดชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมาก ขณะที่ ทำการตรวจต่อมลูกหมากด้วยอัลตราซาวนด์
ระยะของโรค
ระยะที่ 1 – มะเร็งมีขนาดเล็ก อยู่ในต่อมลูกหมาก การตรวจทางทวารหนักมักไม่ค่อยพบ
ระยะที่ 2 – มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังอยู่ในต่อมลูกหมาก สามารถคลำพบโดยการตรวจทางทวารหนัก
ระยะที่ 3 – มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น จนอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ และกระจายออกนอกต่อม สามารถคลำพบโดยการตรวจทางทวารหนัก
ระยะที่ 4 – มะเร็งลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลือง หรือลุกลามไปกระดูกและอวัยวะอื่นๆ
การรักษา
ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัย และการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากได้ก้าวหน้าไปมาก ผลการรักษาจะดีที่สุด ถ้าพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก ๆ หรือแม้มะเร็งลูกหมากในระยะท้าย ๆ ก็สามารถช่วยได้
- การผ่าตัด การผ่าตัดเป็นการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ๆ ที่ดีที่สุดเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุไม่มาก และมีสุขภาพแข็งแรง ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกๆ สามารถรักษาหายขาดได้ โดยการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดก็จะต้องคำนึงถึงอายุของผู้ป่วยด้วย โดยปกติแพทย์จะทำการผ่าตัดโดยวิธีนี้ ในผู้ป่วยที่มีอายุไม่เกิน 65 ปี ซึ่งจะให้ผลการรักษาที่ดีมาก ถ้าผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แพทย์ก็จะใช้ดุลยพินิจในการเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ผลเสียของการผ่าตัดต่อมลูกหมากคือ ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 จะสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศหลังผ่าตัด และบางราย การควบคุมการปัสสาวะจะเสียไป
- การฉายแสง การรักษาด้วยการฉายแสง เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในบางราย เช่น ในรายผู้ป่วยสูงอายุ หรือในรายที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจซึ่งไม่เหมาะที่จะรักษาโดยการผ่าตัด หรือด้วยฮอร์โมน
- การรักษาด้วยฮอร์โมน เหมาะสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากที่อยู่ในระยะ 3-4 หรือมีการกระจายไปแล้วนั้น เนื่องจากต่อมลูกหมากโดยปกติเจริญเติบโตอาศัยฮอร์โมนเพศชาย เช่น testosterone มะเร็งต่อมลูกหมากก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อเอาแหล่งต้นตอของฮอร์โมนเพศชายออก ก็จะช่วยทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง ไม่โตขึ้นอีก ซึ่งสามารถกระทำได้ โดยการผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออกทั้งสองข้าง หรือการใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย การรักษาด้วยฮอร์โมนนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือในรายที่กลับเป็นอีก หลังจากรับการรักษาด้วยการฉายแสงแล้ว
ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พัฒนาในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย โดยจะมีอาการปวดเจ็บ ปัสสาวะไม่สะดวก หรือมีการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และตามด้วยปัญหาเวลามีเพศสัมพันธ์ มะเร็งต่อลูกหมากเป็นโรคที่ร้ายแรงรองลงมาจากมะเร็งปอด ที่คร่าชีวิตเพศชาย ตามสถิติจากสถาบันมะเร็งของสหรัฐอเมริกาพบว่า 1 ใน 6 ของผู้ชายมีการตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและ 1 ใน 35 เสียชีวิตจากโรคนี้
และเป็นข่าวที่ดี เมื่อพบว่ามะเร็งต่อมลูกหมากพัฒนาตัวช้ากว่ามะเร็งที่อวัยวะอื่น ๆ ซึ่งก็แปลว่า หากมีการป้องกันและรักษาในช่วงแรก ๆ โอกาสการเสียชีวิตก็จะน้อยลง นักวิจัยค้นพบว่าสาเหตุของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีป้องกันที่ปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ที่ดีอีกด้วย ด้วยวิธีง่าย ๆ นี้ ก็จะช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งอื่น ๆ รวมทั้งโรคหัวใจ
การวางแผนการรับประทานอาหาร
แม้นักวิจัยยังคงไม่สามารถระบุโภชนาการที่ชัดเจน แต่การรับประทานอาหารให้ได้ครบหมวดหมู่ และถูกสุขลักษณะ ทำให้เกิดประโยชน์กับระบบการทำงานของร่างกาย ทั้งภายในและภายนอกและเป็นผลดีกับสุขภาพ ลดการรับประทานเนื้อแดง โดยเฉพาะเนื้อติดมัน หากจำเป็นต้องรับประทานก็ควรจะรับประทานในปริมาณที่พอควร
ผักและผลไม้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งอาหารที่มีโฟเลตที่สูง และวิตามิบี ผักจำพวกผักขม หน่อไม้ ฝรั่ง และถั่วทุกชนิด ผักประเภทบร็อกโคลี กะหล่ำปลี หัวกะหล่ำ ล้วนมีประโยชน์และสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
อาหารเพื่อสุขภาพ ขนมปังโฮลวีท ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี, โอเมก้า 3 ที่มีกรดไขมันจำเป็นเท่านั้น, ถั่วทุกชนิดหรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ, วิตามินดี ที่พบได้ในไข่แดง ชีส นม น้ำมันปลา, เครื่องดื่มชา โดยเฉพาะชาเขียวที่เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก