หลากเคล็ดลับการตั้งค่ากล้องที่จะช่วยให้ถ่ายภาพได้สวยงามยิ่งขึ้น
สำหรับช่างภาพมือใหม่ที่เพิ่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาใช้งานนั้น
คงจะปวดหัวอยู่ไม่น้อยกับการตั้งค่ากล้องในการถ่ายรูปแต่ละครั้ง
ครั้นจะใช้แต่โหมด Auto แล้วลั่นชัตเตอร์ รัว ๆ
อย่างเดียวก็เกรงว่าจะใช้งานกล้องได้ไม่คุ้มค่าเท่าไร
ดังนั้นเราจึงรวบรวมวิธีการตั้งค่ากล้องแบบพื้นฐานมาฝากกันด้วยครับ
รูรับแสงกว้างแต่ค่า f น้อย
การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับช่างภาพมือใหม่อาจทำให้สับสนอยู่ไม่น้อย เพราะตัวเลขของค่า f จะสวนทางกับความกว้างของรูรับแสง ซึ่งจริง ๆ แล้วค่า f ที่เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ไม่ใช่ขนาดจริงของรูรับแสง แต่เป็นอัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์และระยะโฟกัส ซึ่งหากปรับค่า f ที่ 1.8 รูรับแสงจะเปิดกว้างและแสงจะเข้ากล้องมาก ส่วนการปรับที่ F/16 จะเปิดรูรับแสงแคบและช่วยให้แสงเข้าน้อยนั่นเอง
ภาพจาก nikonusa
ความกว้างของรูรับแสงส่งผลต่อความชัดของภาพ
สำหรับคนที่อยากถ่ายภาพแนวหน้าชัดหลังเบลอหรือ Depth Of Field (DOF) ให้ออกมาคมชัดและสวยงามละก็ ควรปรับค่า f ให้ต่ำเพื่อเปิดรูรับแสงให้กว้างเข้าไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดการแยกส่วนในภาพระหว่างวัตถุที่โฟกัสกับฉากหลัง โดยวัตถุหลักจะคมชัด แต่ฉากหลังจะเบลอ ขณะที่การปรับรูรับแสงให้แคบโดยดันค่า f ให้สูง จะช่วยให้ได้ภาพที่คมชัดเท่ากันทุกภาพ
ควรปรับค่ารูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ดี ?
แน่นอนว่าคนที่หัดเล่นกล้องใหม่ ๆ อาจเคยได้ยินว่าให้ลองปรับรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่สวยงาม ซึ่งหลายคนอาจจะงงว่าควรปรับอย่างไรจึงจะพอดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการถ่ายภาพแนวไหน เช่น การปรับความเร็วชัตเตอร์สูง ก็จะเก็บภาพเคลื่อนไหวได้คมชัดทั้งภาพ ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่ำนั้นช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับภาพราวกับว่ากำลังเคลื่อนที่จริง ๆ ขณะที่การตั้งค่าความกว้างของรูรับแสงจะช่วยปรับความคมชัดและความสว่างให้กับภาพตามค่า f ที่ตั้งไว้
ความเร็วชัตเตอร์ที่หลายคนสับสน
เชื่อว่าบางคนเมื่อเห็นตัวเลข 1/100 วินาที ต้องนึกถึงอะไรก็ตามที่สามารถทำความเร็วได้อย่างยอดเยี่ยม แต่นั่นไม่ใช่กับการถ่ายรูป เพราะแม้แต่ตัวเลข 1/10 หรือ 1/2 วินาที นั้นไม่ได้เร็วอย่างที่คิด ซึ่งเห็นได้ชัดจากการถ่ายภาพน้ำตก ถ้าตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเลขน้อย ๆ ก็จะได้ภาพน้ำตกที่ไหลเป็นธรรมชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับการตั้งค่าแบบตัวเลขเยอะ ๆ ภาพน้ำตกก็จะดูไม่เป็นธรรมชาตินั่นเอง
ถ่ายภาพในฉากที่มีแสงมาก ๆ แต่ได้ภาพมืด
ช่างภาพมือใหม่อาจยังงง ๆ ว่าทั้งที่ถ่ายภาพในที่ที่มีแสงสว่างมากแล้ว แต่ทำไมได้ภาพที่ดูมืดเหลือเกิน ซึ่งอาจเป็นเพราะคุณถ่ายภาพย้อนแสงนั่นเอง หรือว่าการถ่ายภาพในที่แสงน้อยกลับได้ภาพที่สว่างเกินไป ซึ่งควรแก้ไขด้วยการใช้ฮิสโตแกรมช่วย เพราะการอ่านฮิสโตแกรมจะช่วยให้คุณรู้ว่าในภาพที่ถ่ายนั้นมีแสงมากน้อยเกินไปหรือไม่
ภาพจาก joehendricks.photography
การตั้งค่ากล้องบางรุ่นเพื่อถ่ายภาพแนว Landscape มีความแตกต่างกัน
ข้อดีของกล้องดิจิตอลสมัยนี้ นอกจากจะถ่ายภาพคมชัดแล้ว ยังมีโหมดการถ่ายภาพให้เลือกใช้มากมาย เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่สวยงามโดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้วุ่นวาย เช่น โหมดพอร์เทรต โหมดโคลสอัพ และโหมดไนท์ เป็นต้น แต่สำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศนั้น กล้องดิจิตอลบางรุ่นมีให้เลือกถึง 2 แบบ ซึ่งอาจทำให้หลายคนสับสนทั้ง Landscape Picture Style และ Landscape Scene Mode โดยแบบแรกจะช่วยปรับภาพทั่วไปให้มีอารมณ์คล้ายภาพวิว ส่วนโหมดต่อมาช่วยเพิ่มความคมชัดให้กับภาพแนวแลนด์สเคปได้เป็นอย่างดี
คุณภาพของไฟล์ภาพ
ปกติแล้วไฟล์ภาพของกล้องดิจิตอลมีให้เลือกหลายแบบ แต่ชนิดที่ได้รับความนิยมในหมู่ช่างภาพคงหนีไม่พ้น ไฟล์ JPEG และ RAW ซึ่งไฟล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ให้คุณภาพของภาพถ่ายที่แตกต่างกัน โดยไฟล์แบบ JPEG รายละเอียดของภาพจะถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการใช้ภาพทันทีหลังถ่ายเสร็จ ขณะที่ไฟล์ RAW เป็นภาพขนาดใหญ่ที่มีรายละเอียดภาพครบถ้วน เหมาะสำหรับคนที่ต้องแต่งภาพให้สวยงามด้วยโปรแกรมต่าง ๆ
การตั้งค่าระบบออโต้โฟกัส
ระบบออโต้โฟกัสของกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ One-shot AF (หรือ Single-servo AF) เหมาะกับการถ่ายภาพนิ่ง เพราะกล้องจะจับโฟกัสที่วัตถุหลักและล็อกไว้จนกว่าจะกดชัตเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้ภาพที่คมชัด, AI Servo AF (หรือ Continuous-servo AF) กล้องจะไม่ล็อกโฟกัสไว้กับวัตถุ แต่จะปรับโฟกัสตามวัตถุ ซึ่งเหมาะกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง, ส่วน AI Focus AF (หรือ Auto-servo AF) เมื่อใช้โหมดนี้ กล้องจะสลับระหว่างแบบแรกกับแบบที่สองให้เอง
เป็นอย่างไรบ้างกับเทคนิคการตั้งค่ากล้องทั้ง 8 ข้อที่เรานำมาฝาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่รักการถ่ายรูปไม่มากก็น้อยเนอะ ยังไงก็ลองเอาไปปรับใช้ดูนะ ที่สำคัญ ขยันฝึกถ่ายภาพบ่อย ๆ เพื่อสร้างความคุ้นชินกับกล้องถ่ายรูปเป็นประจำด้วยยิ่งดีครับ
ข้อมูลจาก digitalcameraworld.com, photoventure.com
รูรับแสงกว้างแต่ค่า f น้อย
การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับช่างภาพมือใหม่อาจทำให้สับสนอยู่ไม่น้อย เพราะตัวเลขของค่า f จะสวนทางกับความกว้างของรูรับแสง ซึ่งจริง ๆ แล้วค่า f ที่เห็นกันอยู่บ่อย ๆ ไม่ใช่ขนาดจริงของรูรับแสง แต่เป็นอัตราส่วนระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์และระยะโฟกัส ซึ่งหากปรับค่า f ที่ 1.8 รูรับแสงจะเปิดกว้างและแสงจะเข้ากล้องมาก ส่วนการปรับที่ F/16 จะเปิดรูรับแสงแคบและช่วยให้แสงเข้าน้อยนั่นเอง
ภาพจาก nikonusa
ความกว้างของรูรับแสงส่งผลต่อความชัดของภาพ
สำหรับคนที่อยากถ่ายภาพแนวหน้าชัดหลังเบลอหรือ Depth Of Field (DOF) ให้ออกมาคมชัดและสวยงามละก็ ควรปรับค่า f ให้ต่ำเพื่อเปิดรูรับแสงให้กว้างเข้าไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดการแยกส่วนในภาพระหว่างวัตถุที่โฟกัสกับฉากหลัง โดยวัตถุหลักจะคมชัด แต่ฉากหลังจะเบลอ ขณะที่การปรับรูรับแสงให้แคบโดยดันค่า f ให้สูง จะช่วยให้ได้ภาพที่คมชัดเท่ากันทุกภาพ
ควรปรับค่ารูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ดี ?
แน่นอนว่าคนที่หัดเล่นกล้องใหม่ ๆ อาจเคยได้ยินว่าให้ลองปรับรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่สวยงาม ซึ่งหลายคนอาจจะงงว่าควรปรับอย่างไรจึงจะพอดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการถ่ายภาพแนวไหน เช่น การปรับความเร็วชัตเตอร์สูง ก็จะเก็บภาพเคลื่อนไหวได้คมชัดทั้งภาพ ส่วนความเร็วชัตเตอร์ต่ำนั้นช่วยเพิ่มความสมจริงให้กับภาพราวกับว่ากำลังเคลื่อนที่จริง ๆ ขณะที่การตั้งค่าความกว้างของรูรับแสงจะช่วยปรับความคมชัดและความสว่างให้กับภาพตามค่า f ที่ตั้งไว้
ความเร็วชัตเตอร์ที่หลายคนสับสน
เชื่อว่าบางคนเมื่อเห็นตัวเลข 1/100 วินาที ต้องนึกถึงอะไรก็ตามที่สามารถทำความเร็วได้อย่างยอดเยี่ยม แต่นั่นไม่ใช่กับการถ่ายรูป เพราะแม้แต่ตัวเลข 1/10 หรือ 1/2 วินาที นั้นไม่ได้เร็วอย่างที่คิด ซึ่งเห็นได้ชัดจากการถ่ายภาพน้ำตก ถ้าตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเลขน้อย ๆ ก็จะได้ภาพน้ำตกที่ไหลเป็นธรรมชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับการตั้งค่าแบบตัวเลขเยอะ ๆ ภาพน้ำตกก็จะดูไม่เป็นธรรมชาตินั่นเอง
ถ่ายภาพในฉากที่มีแสงมาก ๆ แต่ได้ภาพมืด
ช่างภาพมือใหม่อาจยังงง ๆ ว่าทั้งที่ถ่ายภาพในที่ที่มีแสงสว่างมากแล้ว แต่ทำไมได้ภาพที่ดูมืดเหลือเกิน ซึ่งอาจเป็นเพราะคุณถ่ายภาพย้อนแสงนั่นเอง หรือว่าการถ่ายภาพในที่แสงน้อยกลับได้ภาพที่สว่างเกินไป ซึ่งควรแก้ไขด้วยการใช้ฮิสโตแกรมช่วย เพราะการอ่านฮิสโตแกรมจะช่วยให้คุณรู้ว่าในภาพที่ถ่ายนั้นมีแสงมากน้อยเกินไปหรือไม่
ภาพจาก joehendricks.photography
การตั้งค่ากล้องบางรุ่นเพื่อถ่ายภาพแนว Landscape มีความแตกต่างกัน
ข้อดีของกล้องดิจิตอลสมัยนี้ นอกจากจะถ่ายภาพคมชัดแล้ว ยังมีโหมดการถ่ายภาพให้เลือกใช้มากมาย เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่สวยงามโดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้วุ่นวาย เช่น โหมดพอร์เทรต โหมดโคลสอัพ และโหมดไนท์ เป็นต้น แต่สำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศนั้น กล้องดิจิตอลบางรุ่นมีให้เลือกถึง 2 แบบ ซึ่งอาจทำให้หลายคนสับสนทั้ง Landscape Picture Style และ Landscape Scene Mode โดยแบบแรกจะช่วยปรับภาพทั่วไปให้มีอารมณ์คล้ายภาพวิว ส่วนโหมดต่อมาช่วยเพิ่มความคมชัดให้กับภาพแนวแลนด์สเคปได้เป็นอย่างดี
คุณภาพของไฟล์ภาพ
ปกติแล้วไฟล์ภาพของกล้องดิจิตอลมีให้เลือกหลายแบบ แต่ชนิดที่ได้รับความนิยมในหมู่ช่างภาพคงหนีไม่พ้น ไฟล์ JPEG และ RAW ซึ่งไฟล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ให้คุณภาพของภาพถ่ายที่แตกต่างกัน โดยไฟล์แบบ JPEG รายละเอียดของภาพจะถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการใช้ภาพทันทีหลังถ่ายเสร็จ ขณะที่ไฟล์ RAW เป็นภาพขนาดใหญ่ที่มีรายละเอียดภาพครบถ้วน เหมาะสำหรับคนที่ต้องแต่งภาพให้สวยงามด้วยโปรแกรมต่าง ๆ
การตั้งค่าระบบออโต้โฟกัส
ระบบออโต้โฟกัสของกล้องดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ One-shot AF (หรือ Single-servo AF) เหมาะกับการถ่ายภาพนิ่ง เพราะกล้องจะจับโฟกัสที่วัตถุหลักและล็อกไว้จนกว่าจะกดชัตเตอร์ ซึ่งจะช่วยให้ภาพที่คมชัด, AI Servo AF (หรือ Continuous-servo AF) กล้องจะไม่ล็อกโฟกัสไว้กับวัตถุ แต่จะปรับโฟกัสตามวัตถุ ซึ่งเหมาะกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง, ส่วน AI Focus AF (หรือ Auto-servo AF) เมื่อใช้โหมดนี้ กล้องจะสลับระหว่างแบบแรกกับแบบที่สองให้เอง
เป็นอย่างไรบ้างกับเทคนิคการตั้งค่ากล้องทั้ง 8 ข้อที่เรานำมาฝาก หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่รักการถ่ายรูปไม่มากก็น้อยเนอะ ยังไงก็ลองเอาไปปรับใช้ดูนะ ที่สำคัญ ขยันฝึกถ่ายภาพบ่อย ๆ เพื่อสร้างความคุ้นชินกับกล้องถ่ายรูปเป็นประจำด้วยยิ่งดีครับ
ข้อมูลจาก digitalcameraworld.com, photoventure.com