ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการกำหนดสีและลักษณะของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2549 มาตรา 13 ข้อ 5 บอกไว้ว่า การกำหนดสีของรถให้เจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถกำหนดสีที่เป็นสีหลัก โดยไม่คำนึงถึงความเข้มของสีที่แตกต่างกัน ตามตัวอย่างที่กำหนดในภาคผนวก ก ซึ่งในภาคผนวก ก นั้นมีรายละเอียดดังนี้
สีแดง " " หมายความถึง สีแดงเลือดหมู สีแดงเลือดนก สีแดงบานเย็น สีแดงทับทิม
สีน้ำเงิน " " หมายความถึง สีน้ำเงินเข้ม สีคราม สีกรมท่า
สีเหลือง " " หมายความถึง สีเหลืองอ่อน สีเหลืองทอง สีครีมออกเหลือง
สีขาว " " หมายความถึง สีขาวงาช้าง สีครีมออกขาว
สีดำ " " หมายความถึง สีดำออกเทา
สีม่วง " " หมายความถึง สีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม สีม่วงเปลือกมังคุด
สีเขียว " " หมายความถึง สีเขียวใบไม้ สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม สีเขียวขี้ม้า
สีส้ม " " หมายความถึง สีแสด สีอิฐ สีปูนแห้ง
สีน้ำตาล " " หมายความถึง สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลไหม้ สีน้ำตาลเข้ม สีแชล็ค
สีชมพู " " หมายความถึง สีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม
สีฟ้า " " หมายความถึง สีฟ้าอ่อน สีฟ้าเข้ม
สีเทา " " หมายถึง สีเทาอ่อน สีเทาออกดำ สีบรอนซ์เงิน สีตะกั่วตัด
เป็นอันแก้ข้อสงสัยของหลาย ๆ ท่านว่าทำไมสีในสมุดทะเบียนจึงแจ้งเป็นสีหลัก ไม่ได้ใส่รายละเอียดว่าเป็น สีเขียวรอนซ์ สีฟ้าอ่อน สีน้ำเงินเหลือบ หรือ สีงาช้า ทั้งนี้การกำหนดเรียกสีดังกล่าวประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ข้อสำคัญลืมไม่ได้คือรถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงสีของรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ เจ้าของรถต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน "7 วัน" นับแต่วันเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องตามลักษณะที่เป็นจริง มิฉะนั้นจะมีความผิดทางกฎหมาย
รวมเรื่องเด็ด สุดยอดของผู้ชาย สาวสวยเซ็กซี่ แฟชั่น รถยนต์ คลิกที่นี่
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือ ยานยนต์