x close

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย พร้อมเคล็ดลับปรับพฤติกรรมลดสิว

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย ทำอย่างไรได้บ้าง วันนี้เรามีคำตอบ พร้อมทำความเข้าใจว่าสิวฮอร์โมนคืออะไร จะรับมือยังไงให้มีประสิทธิภาพที่สุด ตามไปดูกันได้เลย

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

สิว ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวหนัง ที่รบกวนจิตใจผู้ชายทุกช่วงวัย  โดยเฉพาะสิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนอาจเผชิญอยู่บ่อย ๆ สำหรับใครที่กำลังกลุ้มใจกับเรื่องนี้ และอยากหาวิธีแก้ บอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอน 

สิวฮอร์โมนผู้ชาย เกิดจากอะไร

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมนในผู้ชายคือ ผลจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของระดับฮอร์โมนแอนโดนเจน (Androgen) และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterrone) ซึ่งจะกระตุ้นการผลิตไขมันบนผิวหนังมากกว่าปกติ ก่อนไขมันจะอุดตันหรือสะสมกับแบคทีเรียในรูขุมขนจนเกิดเป็นสิว อย่างไรก็ตาม อีกสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวยังขึ้นอยู่กับพันธุกรรม ความเครียด และมลภาวะรอบตัวได้เช่นกัน 

โดยสิวถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือสิวไม่อักเสบและสิวอักเสบ และแบ่งย่อยตามลักษณะต่าง ๆ ต่อไปนี้

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

1. สิวหัวดำ (Blackheads)

สิวที่เกิดจากการอุดตันของเซลล์ผิวหนังตายแล้ว มักขึ้นบนจมูกและผิวหนังด้านล่างปาก 

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

2. สิวหัวขาว (Whiteheads)

เกิดจากการอุดตันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว แตกต่างจากสิวหัวดำตรงที่รูด้านบนของสิวจะยังคงปิดอยู่

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

3. สิวตุ่มนูนแดง (Papules)

สิวที่เกิดจากการอุดตันและสะสมของแบคทีเรีย มักเป็นตุ่มสีแดงหรือสีขาว 

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

4. สิวอักเสบ (Nodules)

เกิดจากแบคทีเรียและเกิดการอักเสบที่รุนแรงใต้ชั้นผิวหนัง มีหัวสีขาวและมีรอยแดงโดยรอบหัวสิว

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

5. สิวหัวช้าง (Cysts)

สิวอักเสบอุดตันที่ขยายก้อนใหญ่อยู่ใต้ผิวหนังจนบางครั้งอาจกลายเป็นซีสต์ ซึ่งมักเกิดจากการละเลยทำให้สิวติดเชื้อและสามารถสร้างความเจ็บปวดให้กับคนที่เป็นได้

ขณะที่ “สิวฮอร์โมน” จะพบได้ทั้งในลักษณะสิวตุ่มนูนแดง สิวอักเสบและสิวหัวช้าง ซึ่งอุดตันลึกลงไปในชั้นผิว สามารถเกิดขึ้นทั้งบนใบหน้า ลำคอรวมถึงแผ่นหลัง

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

ระดับความผันผวนของฮอร์โมนมีผลสำคัญกับการเกิดของสิว วิธีรักษาและป้องกันไม่ให้สิวฮอร์โมนมากวนใจ จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 วิธีหลัก ๆ ด้วยกันดังต่อไปนี้

รักษาสิวฮอร์โมนด้วยการปรับพฤติกรรม

1. นอนให้เพียงพอ

การนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยปรับระดับความเครียดให้ร่างกายและจิตใจของเราได้ ส่งผลให้ระดับการผลิตฮอร์โมนในร่างกายสมดุลมากขึ้น นอกจากนี้ การนอนอย่างเพียงพอ (7-9 ชั่วโมงต่อวัน) ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิว ช่วยป้องกันผิวจากปัญหาอื่นที่เกิดจากผิวไม่แข็งแรง

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

2. ออกกำลังกาย

การออกกำลังถือเป็นการปรับสมดุลของระดับฮอร์โมนที่ได้ผลดีเยี่ยม โดยการออกกำลังยังช่วยให้สมองหลั่งโดพามีนที่ช่วยลดความเครียดลงได้ แต่ควรอาบน้ำ ล้างร่างกายให้สะอาดทุกครั้งหลังการออกกำลัง เพราะเหงื่อที่อาจหลงเหลืออยู่จะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียและเกิดเป็นสิวอีก

3. ลดน้ำตาลและแป้งขัดสี

อาหารที่มีน้ำตาลและแป้งขัดสี เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของสิวได้ โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน ส่งผลให้มีการผลิตไขมันมากขึ้น ดังนั้นลองเปลี่ยนมากินแป้งไม่ขัดสีหรืองดน้ำตาลลงในมื้ออาหาร จะช่วยลดการเกิดสิวฮอร์โมนลงได้

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

4. จัดการความเครียด

ภาวะอารมณ์และความกังวล ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน การหาเวลาว่างและผ่อนคลายจึงเป็นเรื่องที่ควรทุกคนควรมีให้กับตัวเอง อาจเป็นการออกกำลังกาย พบปะพูดคุยกับคนอื่น หรือกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ

รักษาสิวฮอร์โมนด้วยยา

1. กรดวิตามินเอ (Vitamin A)

เลือกยาแต้มสิวที่มีส่วนผสมของเรตินอยด์ (Retinoid) หรือวิตามินเอ (Vitamin A) วิธีนี้เหมาะกับการรักษาสิวฮอร์โมนที่อักเสบไม่รุนแรงให้ดีขึ้น รวมถึงมีให้เลือกใช้ทั้งแบบน้ำและครีม โดยปริมาณการใช้งานแต่ละครั้ง ควรเคร่งครัดตามที่เอกสารกำกับยากำหนดเอาไว้หรือตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย

2. กรดชาลิไซลิกหรือเบนเซอร์เพอร์ออกไซด์ (Salicylic Acid or Benzoyl Peroxide)

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่มีส่วนผสมของกรดชาลิไซลิก (Salicylic Acid) และเบนเซอร์เพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) โดยกรดชาลิไซลิกจะช่วยในการผลัดเซลล์ผิวช่วยแก้ปัญหาสิวหัวดำและหัวขาวได้ ส่วนเบนเซอร์เพอร์ออกไซด์จะต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งช่วยในการรักษาสิวตุ่มนูนแดงและสิวอักเสบ

อย่างไรก็ตาม หากลองใช้ยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิวแล้ว แต่สิวฮอร์โมนของคุณยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง แนะนำให้เริ่มต้นพบแพทย์ผิวหนังเฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาให้ตรงจุดมากขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมหมั่นดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจของตัวเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพผิวที่ดีขึ้นได้เช่นกันครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก: healthline.com, sleep.org, verywellhealth.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
วิธีรักษาสิวฮอร์โมนผู้ชาย พร้อมเคล็ดลับปรับพฤติกรรมลดสิว อัปเดตล่าสุด 27 กันยายน 2566 เวลา 17:30:43 30,725 อ่าน
TOP