8 แอปฯ มือถือที่ไม่ปลอดภัยกับเด็ก ๆ ผู้ปกครองไม่ควรให้บุตรหลานโหลดและเล่นแอปฯ เหล่านี้บนมือถือ
![แอปพลิเคชั่นที่ไม่เหมาะกับเด็ก แอปพลิเคชั่นที่ไม่เหมาะกับเด็ก]()
![แอปพลิเคชั่นที่ไม่เหมาะกับเด็ก แอปพลิเคชั่นที่ไม่เหมาะกับเด็ก]()
แอปฯ
แชร์คลิปวิดีโอสั้น ๆ ที่กำลังฮิตในขณะนี้ เป็นแอปฯ
ที่ให้ผู้ใช้สามารถถ่ายและแชร์วิดีโอไม่เกิน 15 วินาที
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นคลิปตลก ๆ ขำขัน ถึงแม้ว่าดูเผิน ๆ
จะไม่มีพิษมีภัยอะไร แต่มันก็มีพวก Scam แฝงตัวอยู่ไม่น้อย
ซึ่งไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ
เพราะมันอาจจะมีคลิปที่หลอกให้คลิกแล้วพาไปสู้เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้
เช่น เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาลามกอนาจาร
รวมทั้งอาจมีการให้สมัครเพื่อจ่ายเงินค่าสมาชิกซึ่งเด็ก ๆ
อาจจะกรอกข้อมูลลงไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้าหากเด็ก ๆ ต้องการจะเล่นแอปฯ
นี้จริง ๆ ผู้ปกครองก็ควรดูและให้คำแนะนำด้วย
2. Hide It Pro (HIP)
3. False Calculators
แอปฯ แชตที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในการคุยเรื่องทางเพศ มีการส่งรูปภาพและวิดีโอโป๊เปลือยกันมากมาย จึงเป็นแอปฯ สำหรับผู้ใหญ่และไม่เหมาะกับเด็ก ๆ ซึ่งนอกจากจะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมแล้วก็อาจตกเป็นเหยื่อถูกหลอกไปกระทำอนาจารได้อีกด้วย ผู้ปกครองจึงต้องระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่นที่มักจะใช้แอปฯ นี้แทนแอปฯ หาคู่
ความจริงแล้ว Omegle ไม่ใช่แอปฯ แต่เป็นบริการห้องแชตออนไลน์ที่เด็ก ๆ ไม่ควรเข้าไปใช้งาน เพราะเป็นบริการที่เปิดให้คุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักกันมาก่อนได้อย่างอิสระ และอาจมีการเปิดกล้องเพื่อโชว์สิ่งลามกอนาจาร ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยกับเด็ก ๆ และนอกจาก Omegle แล้วก็ยังมีบริการอื่น ๆ ในลักษณะนี้อีก เช่น ChatRad, Meet Me, Monkey, Chatous, Chatroulette ฯลฯ
อีกหนึ่งบริการแชตที่ไม่ควรให้เด็ก ๆ ใช้ เพราะจุดประสงค์ของ ShamChat ก็คือการให้ผู้ใช้ปลอมตัวตนเพื่อคุยกับอีกฝ่าย แต่สิ่งที่อันตรายกับเด็ก ๆ ก็คืออาจจะมีการส่งข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศและความรุนแรงในการใช้ภาษา ซึ่งแน่นอนว่าผู้ปกครองไม่ควรให้เด็ก ๆ ใช้แอปฯ นี้ โดยให้เลี่ยงไปใช้แอปฯ แชตอื่น ๆ แทน ซึ่งยังมีให้เลือกใช้อีกมากมายที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก ๆ
แอปฯ สำหรับซ่อนแอปฯ อื่น ๆ ที่ค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะมันสามารถซ่อนแอปฯ ได้หลากหลายวิธีและค่อนข้างแนบเนียน เช่น เปลี่ยนไอคอนแอปฯ ให้ดูไม่ออกว่าเป็นแอปฯ อะไร และถึงแม้ว่ามันจะมีประโยชน์สำหรับหลายคน แต่สำหรับเด็ก ๆ นั้นมันคงเป็นแอปฯ ที่ผู้ปกครองไม่อยากให้ใช้แน่ ๆ เพราะบุตรหลานจะใช้มันซ่อนแอปฯ ที่แอบเล่นโดยไม่ให้ผู้ปกครองรู้นั่นเอง
8. Vora
ข้อมูลจาก idropnews

ในยุคนี้เด็ก ๆ หลายคนก็อาจจะมีมือถือเป็นของตัวเองที่ผู้ปกครองให้ใช้
สำหรับใช้ติดต่อสื่อสารต่าง ๆ กับพ่อแม่ผู้ปกครอง
แต่เนื่องจากมือถือนั้นสามารถติดตั้งแอปฯ ได้ เด็ก ๆ ก็อาจจะเอาไปโหลดแอปฯ
มาเล่นกันตามใจชอบ
ซึ่งผู้ปกครองก็ไม่ควรละเลยและควรเอาใจใส่ในเรื่องนี้ว่าบุตรหลานได้ดาวน์โหลดแอปฯ
อะไรมาเล่นบ้าง เพราะแอปฯ บางส่วนก็อาจไม่ปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็ก ๆ
และไม่ควรให้พวกเขาใช้งาน และนี่คือตัวอย่างแอปฯ
จำนวนหนึ่งที่ไม่ควรให้เด็ก ๆ ใช้งานจากเว็บไซต์ idropnews
ซึ่งผู้ปกครองควรรู้และระวังกันไว้
1. TikTok

2. Hide It Pro (HIP)
.jpg)
แอปฯ
นี้ดูเผิน ๆ ก็จะเหมือนแอปฯ สำหรับจัดการเพลงต่าง ๆ ในเครื่อง
แต่ความจริงแล้วมันมีฟีเจอร์หลักคือการซ่อนรูปภาพ วิดีโอ ข้อความ
รวมทั้งซ่อนแอปฯ ที่ติดตั้งในเครื่อง ซึ่งถ้าหากพบบุตรหลานใช้แอปฯ
นี้ก็หมายความว่าพวกเขาอาจจะกำลังปิดบังอะไรคุณอยู่
จึงต้องสอดส่องดูแลเป็นพิเศษ และไม่ควรให้เด็ก ๆ
ใช้ที่มีฟีเจอร์ในลักษณะนี้
3. False Calculators

อีกหนึ่งแอปฯ
ที่มีไว้สำหรับซ่อนรูปและวิดีโอต่าง ๆ ในเครื่อง โดยแอปฯ
นี้จะปลอมตัวเองเป็นแอปฯ เครื่องคิดเลขธรรมดา ๆ
ที่เมื่อพิมพ์เลขถูกแล้วจะสามารถปลดล็อกแอปฯ ได้
ถ้าหากพบเห็นในเครื่องมีแอปฯ เครื่องคิดเลขแปลก ๆ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนได้เลย
เพราะตามปกติมือถือทุกเครื่องจะมีแอปฯ เครื่องคิดเลขในตัวอยู่แล้ว
จึงไม่มีเหตุผลที่จะต้องติดตั้งแอปฯ เครื่องคิดเลขธรรมดา ๆ เพิ่มอีก
4. Kik

แอปฯ แชตที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในการคุยเรื่องทางเพศ มีการส่งรูปภาพและวิดีโอโป๊เปลือยกันมากมาย จึงเป็นแอปฯ สำหรับผู้ใหญ่และไม่เหมาะกับเด็ก ๆ ซึ่งนอกจากจะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมแล้วก็อาจตกเป็นเหยื่อถูกหลอกไปกระทำอนาจารได้อีกด้วย ผู้ปกครองจึงต้องระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่นที่มักจะใช้แอปฯ นี้แทนแอปฯ หาคู่
5. Omegle

ความจริงแล้ว Omegle ไม่ใช่แอปฯ แต่เป็นบริการห้องแชตออนไลน์ที่เด็ก ๆ ไม่ควรเข้าไปใช้งาน เพราะเป็นบริการที่เปิดให้คุยกับคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักกันมาก่อนได้อย่างอิสระ และอาจมีการเปิดกล้องเพื่อโชว์สิ่งลามกอนาจาร ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยกับเด็ก ๆ และนอกจาก Omegle แล้วก็ยังมีบริการอื่น ๆ ในลักษณะนี้อีก เช่น ChatRad, Meet Me, Monkey, Chatous, Chatroulette ฯลฯ
6. ShamChat

อีกหนึ่งบริการแชตที่ไม่ควรให้เด็ก ๆ ใช้ เพราะจุดประสงค์ของ ShamChat ก็คือการให้ผู้ใช้ปลอมตัวตนเพื่อคุยกับอีกฝ่าย แต่สิ่งที่อันตรายกับเด็ก ๆ ก็คืออาจจะมีการส่งข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศและความรุนแรงในการใช้ภาษา ซึ่งแน่นอนว่าผู้ปกครองไม่ควรให้เด็ก ๆ ใช้แอปฯ นี้ โดยให้เลี่ยงไปใช้แอปฯ แชตอื่น ๆ แทน ซึ่งยังมีให้เลือกใช้อีกมากมายที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก ๆ
7. App Hiders

แอปฯ สำหรับซ่อนแอปฯ อื่น ๆ ที่ค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะมันสามารถซ่อนแอปฯ ได้หลากหลายวิธีและค่อนข้างแนบเนียน เช่น เปลี่ยนไอคอนแอปฯ ให้ดูไม่ออกว่าเป็นแอปฯ อะไร และถึงแม้ว่ามันจะมีประโยชน์สำหรับหลายคน แต่สำหรับเด็ก ๆ นั้นมันคงเป็นแอปฯ ที่ผู้ปกครองไม่อยากให้ใช้แน่ ๆ เพราะบุตรหลานจะใช้มันซ่อนแอปฯ ที่แอบเล่นโดยไม่ให้ผู้ปกครองรู้นั่นเอง
8. Vora

แอปฯ
ลดน้ำหนักที่ดูไม่น่าเป็นอันตรายอะไร แต่เนื่องจากจุดประสงค์ของแอปฯ
นี้คือการลดน้ำหนักด้วยการลดอาหาร
ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับเด็กโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัยรุ่นผู้หญิง
ที่อาจอดอาหารมากเกินพอดีจนกลายเป็นขาดสารอาหารและเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้
ผู้ปกครองจึงควรให้คำแนะนำถ้าหากพบเห็นบุตรหลานใช้แอปฯ นี้อยู่
ข้อมูลจาก idropnews