
เชื่อเลยว่าหลายคนที่เพิ่งจับกล้องได้ไม่นานอาจเคยได้ยินคำว่า ค่าสต็อป (Stop) จากบรรดาช่างภาพมือโปรมาบ้างไม่มากก็น้อย จนได้แต่สงสัยว่าค่าดังกล่าวคืออะไรกันแน่และส่งผลในการถ่ายภาพอย่างไรบ้าง วันนี้เราจึงหยิบเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับค่าสต็อปจากเว็บไซต์ digital-photography-school มาฝากกันครับ
ต้องบอกก่อนว่า ค่าสต็อป เป็นตัวบ่งชี้ถึงระดับการเปิดรับแสงของกล้องถ่ายรูป ว่าแสงเข้ากล้องมากน้อยขนาดไหน โดยค่าสต็อปสามารถปรับได้จากการตั้งค่ากล้องทั้ง 3 ส่วน ไม่ว่าจะเป็นความเร็วชัตเตอร์, รูรับแสง (ค่า f) และความไวแสง (ISO) ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้


2. รูรับแสง


เมื่อนำทั้ง 3 ส่วนมารวมกัน จะเห็นได้ว่าค่าสต็อปของความเร็วชัตเตอร์, รูรับแสง และความไวแสง ล้วนเท่ากัน เรียกได้ว่าหากปรับแสงขึ้น 1 สต็อปด้วยการปรับความเร็วชัตเตอร์ เท่ากับการปรับรูรับแสงและความไวแสงขึ้น 1 สต็อปเหมือนกัน ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกในการถ่ายภาพมากเลยทีเดียว ในกรณีที่เราอยากเพิ่มระยะชัดลึกในภาพ แต่เปิดรูรับแสงแคบ ๆ ไม่ได้มากเท่าที่ควร เพราะภาพจะมืดลง ก็ให้ปรับค่าสต็อปของความเร็วชัตเตอร์หรือความไวแสงขึ้นแทนได้

ภาพแลนด์สเคป ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาที ที่รูรับแสง f/11 และ ISO 100
ยกตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพแลนด์สเคป แล้วกล้องอ่านค่าแสงได้ถูกต้องที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที ที่ f/5.6 และความไวแสง ISO 100 แต่ว่าหากเก็บภาพด้วยค่าดังกล่าวตามที่กล้องกำหนดให้ ภาพที่ได้จะไม่ชัดเจนทั้งภาพ ก็ให้ปรับรูรับแสงจาก f/5.6 เป็น f/11 ทว่าก็จะทำให้ได้ภาพที่มืดลง เพราะเราปรับแสงลงไป 2 สต็อปด้วย ฉะนั้นให้เพิ่มแสงขึ้นอีก 2 สต็อปโดยการเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์จาก 1/500 เป็น 1/125 วินาที ส่วนความไวแสงอาจปรับได้ไม่เกิน ISO 400 แต่ถ้าไม่อยากให้ภาพมีนอยซ์ ก็เปิดไว้ที่ ISO 100 เพียงเท่านี้ ภาพก็จะออกมาดูสวยคมชัดทั้งภาพแล้วครับ
เมื่อได้ทราบอย่างนี้แล้ว หวังว่าจะช่วยให้ช่างภาพมือใหม่จำนวนไม่น้อยเข้าใจเรื่องค่าสต็อปของแสงในภาพมากขึ้นนะครับ ส่วนใครที่อยากลองปรับค่าสต็อปดูบ้างละก็ จัดเลยครับ อย่าลืมว่าการตั้งค่ากล้องไม่มีข้อกำหนดตายตัว เอาเป็นว่าถ่ายภาพให้สนุก แล้วเอาภาพสวย ๆ ไปแชร์ให้เพื่อนชมกันด้วยล่ะ :D
ภาพจาก digital-photography-school.com, photographymad.com, canadiannaturephotographer.com