x close

กูเกิลทดสอบบอลลูนอินเทอร์เน็ต สำหรับคนในพื้นที่ห่างไกล

กูเกิลทดสอบบอลลูนอินเทอร์เน็ต สำหรับคนในพื้นที่ห่างไกล

กูเกิลทดสอบบอลลูนอินเทอร์เน็ต สำหรับคนในพื้นที่ห่างไกล

กูเกิลทดสอบบอลลูนอินเทอร์เน็ต สำหรับคนในพื้นที่ห่างไกล

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  mashable.com , technewsrprt.com, Google+ Project Loon

          เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2556 สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า กูเกิลทดลองปล่อยบอลลูนอินเทอร์เน็ต 30 ลูก เพื่อทดสอบเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
           

          โดยบอลลูนทั้ง 30 ลูกนี้ เป็นบอลลูนฮีเลียมจากโครงการ "โปรเจคท์ ลูน" (Project Loon) ถูกปล่อยขึ้นฟ้าจากจุดปล่อยบอลลูนเมืองไครต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์  โดยบอลลูนแต่ละลูกจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เมตร หรือขนาดเท่ากับเครื่องบินเล็ก พร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ เสาวิทยุ, คอมพิวเตอร์ควบคุมการบิน, ระบบควบคุมความสูง และแผงรับแสงอาทิตย์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อน รวมทั้งติดตั้งตัวรับและส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วเทียบเท่า 3G ที่เชื่อมต่อกับสถานีภาคพื้นไว้ และถูกควบคุมเส้นทางให้ไปลอยอยู่เหนือพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่ความสูงราว 20 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งหากบอลลูนอินเทอร์เน็ตนี้ไปลอยอยู่ที่ใด ผู้คนที่อยู่บริเวณรัศมีสัญญาณก็จะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ โดยสัญญาณจะครอบคลุมพื้นที่ 2 เท่าของมหานครนิวยอร์ก

          ทั้งนี้ ทางกูเกิลเผยว่า แนวคิดดังกล่าวจะช่วยให้มีประชากรที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เพิ่มขึ้นกว่า 2 ใน 3 ของโลกเลยทีเดียว โดยปัจจุบันกูเกิลได้วางแผนงานเพื่อเป็นพันธมิตรกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ ตามอาคารต่าง ๆ ในแต่ละประเทศที่อยู่ในละติจูดเดียวกับนิวซีแลนด์ เช่น อาร์เจนตินา ชิลี แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย

          อย่างไรก็ดี การทดลองครั้งนี้เป็นการทดลองครั้งแรกของบอลลูนอินเทอร์เน็ต ซึ่งกูเกิลได้ให้ประชาชนกว่า 50 คนทั่วประเทศได้ทดลองใช้ และหวังว่ามันจะประสบความสำเร็จและสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้ผู้คนในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้บ้าง โดยบอลลูนอินเทอร์เน็ตนี้สามารถลอยอยู่บนฟ้านานสูงสุดประมาณ 100 วัน





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กูเกิลทดสอบบอลลูนอินเทอร์เน็ต สำหรับคนในพื้นที่ห่างไกล อัปเดตล่าสุด 17 มิถุนายน 2556 เวลา 17:59:32
TOP