สำหรับมือใหม่หัดถ่ายภาพแล้ว นอกจากเรื่องการใช้งานของตัวกล้องที่ต้องใช้เวลาในการศึกษาแล้ว เลนส์กล้อง ยังเป็นไอเทมที่จำเป็นต้องใส่ใจด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งนักถ่ายภาพมือใหม่ที่เพิ่งหัดเล่นกล้องคงมีคำถามเกี่ยวกับการใช้เลนส์อยู่ไม่น้อย ดังนั้นเราเลยนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเลนส์กล้องจาก Fotoinfo มาแนะนำกันด้วยครับ
เมื่อใช้เลนส์ที่มีการทำงานลดการสั่นไหวของภาพกลับ พบว่าไม่ค่อยส่งผลต่อภาพ มีอะไรผิดปกติหรือไม่ ?
การทำงานลดการสั่นไหวของภาพมีความซับซ้อนด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมมอเตอร์สำหรับเคลื่อนกลุ่มเลนส์เพื่อให้มีผลในการลดการสั่นไหว โดยการทำงานลดการสั่นของภาพใหม่ล่าสุดในเลนส์ Canon, Nikon, Sigma และ Tamron สามารถทำงานได้ดีตามที่ผู้ผลิตอ้างคือ 3-4 สต็อปจากความเร็วชัตเตอร์ปกติ ทำให้ผู้ใช้สามารถคาดหวังได้ถึงผลลัพธ์ในเรื่องความคมชัดของภาพ แต่ควรระลึกไว้ว่าการทำงานลดการสั่นไหวของภาพ จะไม่สามารถจัดการกับการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพได้ และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นักถ่ายภาพควรปล่อยให้มีการทำงานประมาณ 1 วินาทีหลังกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งหรือกดปุ่ม AF เพื่อให้การลดการสั่นไหวของภาพอยู่ในสถานะที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้เลนส์บางรุ่นจะมีการทำงานลดการสั่นไหวของภาพมาให้ใช้หลายโหมด เช่น โหมดแพนซึ่งจะแก้ไขแก้สั่นไหวเฉพาะแนวตั้งหรือแนวนอนเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้แพนกล้องในแนวนอนหรือแนวตั้ง ขณะที่เลนส์หลายรุ่นจะถูกออกแบบให้มีการทำงานตรวจจับการแพนกล้องหรือใช้ขาตั้งกล้องอัตโนมัติ ส่วนเลนส์ Nikon VR จะมีโหมด Active สำหรับถ่ายภาพบนสถานที่ที่มีการสั่นหรือไม่นิ่ง
ทำอย่างไรจึงจะได้รับคุณภาพสูงสุดจากเลนส์
โดยทั่วไปเลนส์จะไม่ค่อยให้ความคมชัดสูงสุดที่รูรับแสงกว้างสุด และเมื่อใช้รูรับแสงแคบตั้งแต่ F11-F32 ก็จะมีปัญหาเรื่อง Diffraction ซึ่งส่งผลต่อความคมชัดเช่นกัน จุดที่ให้ความคมชัดสูงสุดของเลนส์จะแตกต่างกันไปในเลนส์แต่ละรุ่น แต่โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ประมาณ F8 ซึ่งวิธีง่าย ๆ ในการควบคุมสิ่งนี้คือ ใช้โหมดปรับรูรับแสงล่วงหน้า A/AV แล้วปรับรูรับแสงที่ค่านี้
เมื่อใช้รูรับแสงแคบสุดของเลนส์เพื่อให้มีระยะชัดมากที่สุดในภาพ ผลที่ได้รับคือภาพดูซอฟต์
เลนส์ส่วนใหญ่จะมีรูรับแสงแคบสุดที่ F22 ขณะที่เลนส์บางรุ่นโดยเฉพาะเลนส์มาโครจะสามารถปรับได้แคบกว่านี้คือ F32 แต่แทบไม่มีการระบุรูรับแสงแคบสุดของเลนส์ไว้ข้างทางยาวโฟกัสเลนที่ด้านหน้าเลนส์อย่างรูรับแสงกว้างสุด เนื่องจากมักไม่มีคำแนะนำให้ใช้รูรับแสงแคบสุดเพราะอาจทำให้ภาพซอฟต์ขึ้น, คอนทราสต์ต่ำลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากลักษณะทางออฟติคัลที่เรียกว่า Diffraction
โดยอาการนี้จะเกิดขึ้น เมื่อคลื่นแสงที่เข้าสู่เลนส์มีการหักเหจากขอบของรูรับแสง ซึ่งทุกรูรับแสงที่ปรับตั้งทำให้เกิดอาการนี้แต่การหักเหจะมีน้อยที่รูรับแสงกว้าง และเมื่อปรับรูรับแสงแคบลงอาการที่แสดงออกมาจะชัดเจนขึ้น เนื่องจากแสงมีการหักเหและกระจายออกมากจากม่านรูรับแสงซึ่งจะทำให้ภาพดูซอฟต์ แม้จะมีการโฟกัสที่ถูกต้องก็ตาม
ดังนั้นในขณะที่รูรับแสงแคบสุดสามารถให้ระยะชัดมากที่สุดเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ แต่ก็ทำให้ความคมชัดลดลงด้วย ซึ่งทางออกที่ดีคือ ควรปรับรูรับแสงให้กว้างขึ้นครึ่งหรือ 1 สคอป แทนเพื่อทำให้คุณภาพของภาพสูงขึ้น และควรตรวจสอบภาพด้วยการขยายขึ้นมา 100 เปอร์เซ็นต์ในจอมอนิเตอร์
คำ F-Number ที่ 2 ซึ่งระบุในเลนส์ซูมเซ่น F5.6 ในเลนส์ 28-135 คืออะไร และมีผลอย่างไร
เลนส์ซูมส่วนใหญ่มักจะระบุ 2 ตัวเลข F-Number เนื่องจากเมื่อมีการซูมจากช่วงมุมกว้างไปถึงช่วงเทเลโฟโต้จะมีแสงผ่านเลนส์น้อยลง เช่นในกรณีเลนส์ข้างต้น ที่ช่วง 28 มม. เมื่อปรับตั้งที่ F3.5 แต่เมื่อซูมไปที่ช่วง 135 มม. รูรับแสงจะกลายเป็น F5.6 ซึ่งสิ่งนี้จะมีผลกระทบในการจับถือกล้องเนื่องจากรูรับแสงเล็กลงเมื่อมีการซูม ทำให้ต้องใช้เวลาบันทึกภาพนานขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสที่ทำให้ภาพเบลอมากขึ้น
ดิสทอร์ชั่นแบบ Barrel และ Pincushion ในเลนส์ซูม คืออะไร จะสามารถแก้ไขในขั้นตอนการปรับภาพหลังถ่ายได้หรือไม่
เลนส์ซูมมักจะแสดงลักษณะดิสทอร์ชั่นแบบ Barrel ออกมาในภาพที่ช่วงมุมกว้าง และดิสทอร์ชั่นแบบ Pincushion ที่ช่วงเทเลโฟโต้ ดังนั้นเมื่อถ่ายภาพผนังเต็มเฟรมภาพ จะเห็นที่ขอบภาพมีลักษณะโค้งออกกับดิทอร์ชั่นแบบ Barrel และมีลักษณะโค้งเข้ากับดิสทอร์ชั่นแบบ Fincushion โดยทั่วไปแล้วในโปรแกรมปรับแต่งภาพจะมีเครื่องมือสำหรับแก้ไขดิสทอร์ชั่น
มีวิธีสังเกตเลนส์จากผู้ผลิตกล้องและเลนส์จากผู้ผลิตอิสระอย่างไรว่า เลนส์ถูกออกแบบมาสำหรับกล้อง APS-C และเลนส์ใดที่รองรับการใช้ร่วมกับกล้องฟูลเฟรม
ตามปกติแล้วจะสามารถใช้เลนส์ฟูลเฟรมร่วมกับกล้อง APS-C ได้ แต่จะไม่สามารถใช้เลนส์สำหรับ PAS-C กับกล้องฟูลเฟรมได้ สิ่งที่ใช้สังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเลนส์ใดถูกออกแบบสำหรับกล้อง APS-C คือรหัสบนเลนส์เช่น Canon EF-S Nikon DX, Sigma DC และ Tokina DX ส่วนเลนส์ที่ใช้ร่วมกับฟูลเฟรมจะมีรหัส Canon EF, Nikon FX, Sigma DG และ Tokina FX
มีคำพูดว่าฮูดที่มีรูปทรงแบบครีบหรือ Petal-shaped จะให้ผลที่ดีกว่าฮูดแบบด้วยหรือ Round-shapes ในการป้องกันการอาการแฟลร์และ Ghostiong แล้วทำไมจึงไม่มีการใช้ฮูดแบบครีบกับเลนส์คิต 18-55 มม. ที่มากับกล้อง
เลนส์คิท 18-55 มม. ส่วนใหญ่ไม่มีระบบโฟกัสแบบเคลื่อนชิ้นเลนส์ภายใน ดังนั้นเลนส์ชิ้นหน้าจึงหมุนเมื่อมีการโฟกัส ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ฮูดที่ติดอยู่หน้าเลนส์หมุนตามไปด้วยเมื่อโฟกัส ทำให้ไม่สามารถใช้ฮูดรูปทรงครีบได้ และต้องใช้ฮูดทรงถ้วยแทน
ความแตกต่างระหว่างมอเตอร์โฟกัสทั่วไป, มอเตอร์อุลตร้าโซนิก และระบบอุลตร้าโซนิก แบบ Ring-type คืออะไร และแบบใดดีที่สุด
เลนส์ยุคใหม่ส่วนใหญ่จะมีมอเตอร์ออโต้โฟกัสในตัวเลนส์แทนการเคลื่อนโฟกัสจากมอเตอร์ที่อยู่ในตัวกล้อง โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือ มอเตอร์ไฟฟ้าทำการเคลื่อนเฟืองเพื่อให้มีการโฟกัสที่ถูกต้อง ระบบออโต้โฟกัสอุลต้าโซนิก Ring-type จะใช้วงแหวนขนาดใหญ่ 2 วงแหวนเพื่อสร้างกำลังในการหมุนสำหรับการโฟกัสในเลนส์ ซึ่งจะมีจุดเด่นหลักคือประสิทธิภาพในการโฟกัสด้วยความเร็วสูงพร้อมกับมีการทำงานที่แทบจะเงียบ วงแหวนแมนนวลโฟกัสไม่หมุนระหว่างที่ระบบออโต้โฟกัสทำงานทำให้สามารถรับโฟกัสแมนนวลได้ตลอดเวลาเมื่อความแม่นยำในระบบออโต้โฟกัสแบบทีละภาพหรือ Single/One Shot
ส่วนระบบออโต้โฟกัสอุลตร้าโซนิกที่มีความล้ำหน้าน้อยกว่าข้างต้นจะใช้มอเตอร์อุลตร้าโซนิกขนาดเล็กและใช้วงแหวนเฟืองเพื่อขับเคลื่อนระบบโฟกัส ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงเล็กน้อย ขณะที่ความเร็วในการโฟกัสเหมือนกับมอเตอร์โฟกัสพื้นฐานทั่วไปรวมทั้งไม่สามารถโฟกัสแมนนวลได้ตลอดเวลา เลนส์ Canon USM (Ultrasonic Motor), Nikon AF-S (AF-Silent Wave), และ Sigama HSM (Hyper Sonic Motor) ล้วนใช้การออกแบบที่เหมือนกันซึ่งประกอบไปด้วยทั้งระบบออโต้โฟกัสุลตร้าโซนิกพื้นฐานและ Ring-type ดังนั้นจึงยากที่จะบอกว่าระบบออโต้โฟกัสแบบใดที่ถูกใช้ในเลนส์ ขณะที่ Tamon นั้นมีความแตกต่างระหว่าง PZD (Piezo Drive) ในระบบพื้นฐานและ USD (Ultrasonic Silent Drive) สำหรับระบบออโตโฟกัสแบบ Ring-type
จากที่ใช้เลนส์ซูเปอร์ซูมถ่ายภาพย้อนแสงแล้วพบว่ามีอาการแฟลร์และ Ghosting มากจะแก้ไขได้อย่างไร
เลนส์ซูเปอร์ซูมมักจะประกอบด้วยกลุ่มและชิ้นเลนส์จำนวนมาก ดังนั้นจึงมักมีปัญหาเรื่องแสงสะท้อนภายในเลนส์มากและทำให้เกิดอาการแฟลร์และ Ghosting วิธีง่ายที่สุดในการลดปัญหานี้คือ ใช้ฮูดของเลนส์เพื่อช่วยตัดแสงที่จะเข้าสู่เลนส์ในมุมเฉียง นอกจากนี้ควรแน่ใจว่าเลนส์ชิ้นหน้าและฟิลเตอร์หน้าเลนส์สะอาดปราศจากฝุ่นหรือคราบต่าง ๆ เพราะทุกสิ่งสามารถทำให้เกิดการสะท้อนแสงซึ่งส่งผลให้เกิดสิ่งที่ไม่ต้องการในภาพได้ และนอกจากหากต้องถ่ายภาพไปยังทิศทางของแหล่งแสงตรง ๆ ควรวางตำแหน่งของหน้าเลนส์ให้อยู่ในเงาหากเป็นไปได้ โดยลองใช้หมวดหรือกระดาษสีดำ เพื่อบังหน้าเลนส์จากดวงอาทิตย์ เพียงแค่ระมัดระวังอาการแฟลร์และ Ghosting ก็จะไม่เข้ามาในภาพ
การเปลี่ยนเลนส์จะทำให้ฝุ่นเข้าสู่เซ็นเซอร์หรือไม่
มีคำเตือนมากมายเกี่ยวกับฝุ่นที่สามารถเข้าไปเกาะติดบนเซ็นเซอร์ภาพได้ แต่การเปลี่ยนเพื่อใช้เลนส์ที่เหมาะสมกับภาพแต่ละภาพเป็นจุดเด่นที่สำคัญของกล้อง DSLR รวมทั้งกล้องเปลี่ยนเลนส์ได้อื่น ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรกลัวที่จะเปลี่ยนเลนส์เมื่อต้องการเพียงแต่ว่าควรมีความระมัดระวัง เช่น ควรปิดสวิตช์ของกล้องก่อนเปลี่ยนเลนส์เพื่อทำให้ไม่มีไฟฟ้าสถิตบนเซ็นเซอร์ซึ่งจะดึงฝุ่นเข้าไปเกาะติด หากเป็นไปได้ควรเลือกเปลี่ยนเลนส์ในสถานที่ที่ไม่มีฝุ่นและลม นอกจากนี้ควรเตรียมเลนส์ที่จะเปลี่ยนให้พร้อมที่จะติดกับกล้องได้ทันที เพื่อจะได้ไม่ปล่อยให้เม้าท์ของกล้องต้องเปิดออกนาน และสุดท้ายควรคว่ำกล้องที่ถอดเลนส์ออกลงเพื่อลดความเสี่ยงในการที่สิ่งใดจะเล็ดรอดเข้าไปภายใน
ความคลาดสีหรือ Chromatic Aberration คืออะไร
ความคลาดสีเกิดจากการที่เลนส์โฟกัสคลื่นแสงที่มีความยาวแตกต่างกันของแสงตกลงบนคนละจุด โดยปกติแล้วจะมีความคลาดสี 2 แบบคือ Longitudinal Chromatic Aberration ซึ่งคลื่นแสงที่แตกต่างกันจะถูกโฟกัสที่คนละพื้นที่ตามความยาวหรือเส้นทางที่แสงผ่านเข้ามา และ Lateral Chromatic Aberration แต่ละคลื่นแสงจะถูกโฟกัสให้ตกในทิศทางด้านข้าง
ผลที่เกิดจากความคลาดสีคืออาการเหลื่อมของสีหรือ Color Fringing เนื่องจากทำให้เกิดการเหลื่อมของสี Red/Cyan หรือ Blue/Yellow ตามขอบของส่วนที่คอนทราสต์มากในภาพ นอกจากนี้ยังอาจเกิดการเหลื่อมของสี Green/Magenta ได้ซึ่งเกิดจากการผสมของ 2 แม่สี
เพื่อลดความคลาดสีผู้ผลิตเลนส์จะใช้ทั้งชิ้นเลนส์ที่มีการกระจายแสงแตกต่างกันที่เรียกว่า Achromatic Doublet ร่วมกันเพื่อลดการกระจายแสง นอกจากนี้เลนส์คุณภาพสูงยังมักประกอบด้วยชิ้นเลนส์แบบไฮบริดเพื่อลดการกระจายแสงให้เหลือน้อยที่สุดด้วย เช่น Nikon ED (Extra-low Dispersion) และ Canon UD (Ultra-low Dispersion) นอกจากนี้กล้อง DSLR ในปัจจุบันยังมีการทำงานที่ปรับแก้ความคลาดสีอัตโนมัติในกล้องด้วยจึงทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเลนส์ที่มีประสิทธิภาพที่ไม่สูงนักได้ อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหานี้ในตัวกล้องจะไม่มีผลเมื่อถ่ายภาพแบบ RAW ซึ่งจะต้องปรับแก้ไขในซอฟต์แวร์แปลงไฟล์ภายหลัง
เลนส์ซูมที่ใช้อยู่มีคำว่า มาโคร ระบุอยู่ด้วยแต่ทำไมกลับไม่สามารถโฟกัสได้ใกล้เหมือนกล้องคอมแพคท์
เลนส์มาโครจริง ๆ จะมีอัตราขยาย 1 : 1 ซึ่งหมายความว่าสามารถถ่ายทอดวัตถุขนาดเท่าของจริงบนเซ็นเซอร์ภาพได้ แต่เลนส์ซูมที่สามารถถ่ายภาพมาโครได้จะมีอัตราขยายสูงสุดที่ประมาณ 1 : 4 ซึ่งจะไม่ให้ภาพของวัตถุขนาดเท่าจริงในเซ็นเซอร์ และเป็นความจริงที่ว่ากล้องคอมแพคท์จำนวนมากสามารถโฟกัสได้ใกล้ แต่จะสามารถทำได้เฉพาะที่ช่วงเลนส์มุมกว้างสุดเท่านั้น ดังนั้นวัตถุขนาดเล็กที่สุดที่สามารถบันทึกได้จึงไม่ใช้วัตถุที่มีขนาดเล็กมาก นอกจากนี้ยังอาจทำให้วัตถุได้รับแสงน้อยด้วยจากการที่กล้องบังแสง ดังนั้นการที่มีระยะถ่ายภาพที่มากกว่า
รวมเรื่องเด็ด สุดยอดของผู้ชาย สาวสวยเซ็กซี่ แฟชั่น รถยนต์ คลิกที่นี่
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่
ภาพจาก mir
ที่มา หนังสือFOTOINFO ปีที่ 10 ฉบับที่ 120 มีนาคม 2558