Long COVID คืออะไร ?
อาการที่พบบ่อย
- เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลีย
- ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อไม่มีแรง
- ไอเรื้อรัง
- การรับรสและกลิ่นผิดปกติ
- ปวดศีรษะ มึนศีรษะ
- นอนไม่หลับ
- สมองล้า ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ
- ใจสั่น แน่นหน้าอก
- ท้องเสีย ท้องอืด
- ผื่นขึ้นตามตัว
- มีภาวะซึมเศร้า เครียด และวิตกกังวล (Post-Traumatic Stress Disorder)
ที่สำคัญ รายงานล่าสุดยังพบว่าผลกระทบจากการติดเชื้อทำให้อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวในบางราย และอาจทำให้อวัยวะเพศหดสั้นลงได้ด้วย นอกจากนั้นคนไข้โควิดยังมีโอกาสเกิดภาวะอัณฑะอักเสบร่วมได้ประมาณร้อยละ 10
ที่มาของรายงานนี้เริ่มต้นจากชายชาวอเมริกันคนหนึ่งที่ติดเชื้อโควิดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2021 และได้รับการรักษาจนออกจากโรงพยาบาลแล้ว แต่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะ Long COVID โดยพบว่ามีอาการ “Erectile Dysfunction” หรือ ภาวะไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศชาย อีกทั้งชายคนนี้ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า น้องชายของเขาหดสั้นลงประมาณ 1.5 นิ้ว หรือราว ๆ 3.8 เซนติเมตร จากที่เคยอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เมื่อเจอเหตุการณ์แบบนี้กลับกลายเป็นสั้นกว่ามาตรฐานเสียอีก
ไม่เพียงกรณีนี้เท่านั้น แต่ยังพบว่าใน 56 ประเทศทั่วโลก มีเพศชายเกือบ 5% ที่ต้องตกอยู่ในภาวะขนาดอวัยวะเพศหดสั้นลงหลังติดเชื้อ และผู้ชายอีกประมาณ 15% พบปัญหาเรื่องการร่วมเพศ สรุปแล้วคำถามที่ว่า โควิด 19 ทำให้น้องชายเล็กลงจริงหรือไม่ คำตอบคือ เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นได้
โควิด 19 ทำให้อวัยวะเพศสั้นลงได้อย่างไร
สำหรับเหตุผลที่ชี้ว่า โควิด 19 อาจทำให้อวัยวะเพศหดสั้นลงในบางรายจนเกิดปัญหาได้นั้น มีงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร World Journal of Men’s Health โดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะอธิบายว่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ
- โควิด 19 ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดบริเวณอวัยวะเพศ พอเลือดไปเลี้ยงน้อยลงจึงทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวไม่เต็มที่หรือยืดตัวไม่สุด จึงดูสั้นลงจนสังเกตได้
- เชื้อโควิด 19 เข้าสู่เซลล์บุผนังหลอดเลือดของอวัยวะเพศชาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่องคชาตได้อย่างจำกัด จนนำไปสู่การเกิดรอยแผลเป็นที่อวัยวะเพศ เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และขนาดของน้องชายหดสั้นลงได้
อวัยวะเพศหด หลังติดเชื้อโควิด 19 จะหายเป็นปกติหรือไม่
ข้อแนะนำในการรักษา
- พบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาวิธีการรักษาต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เลือดมาหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศมากขึ้น เช่น การยืดอวัยวะเพศชายโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทางการแพทย์ การให้ยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ การทำ Shockwave กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่เพิ่มขึ้นในอวัยวะเพศ หรือการผ่าตัดใส่แกนเพิ่มความยาว เป็นต้น
- การออกกำลังกายก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงได้ดีขึ้น โดยอาจเริ่มต้นจากการเดิน การวิ่งเหยาะ ๆ เพื่อลดอาการภาวะ Long COVID และฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
- เลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา ถั่วชนิดต่าง ๆ เพื่อซ่อมแซมและสร้างเสริมเนื้อเยื่อเซลล์ต่าง ๆ ที่ถูกทำลาย
- หมั่นสังเกตร่างกายตัวเองอยู่เสมอหลังจากหายป่วย หากพบอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจประเมิน รับการรักษา และวางแผนฟื้นฟูร่างกายอย่างเหมาะสม
ใครจะไปนึกว่าอาการข้างเคียงจากไวรัสโควิด 19 จะลุกลามมาถึงอวัยวะเพศได้ เมื่อรู้อย่างนี้แล้วทางที่ดีควรป้องกันไม่ให้ตัวเองติดเชื้อและดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอจะถือว่าปลอดภัยที่สุดครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : The world Journal of Men’s Health, healthymale.org.au, euronews.com, rama.mahidol.ac.th, samitivejchinatown.com, ram-hosp.co.th