
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
คุณเป็นคนหนึ่งที่ฝันอยากนอนบนเตียงโดยไม่ต้องทำอะไรทั้งวัน แต่มีเงินเข้ากระเป๋าสบาย ๆ หรือเปล่า? ภารกิจใหม่ล่าสุดของ NASA ที่กำลังรออาสาสมัคร จะช่วยให้ฝันของคุณเป็นจริง ด้วยการนอนบนเตียงเฉย ๆ เป็นเวลายาวนานอย่างน้อย 70 วัน จากนั้นก็จะได้รับเงินมากถึง 18,000 เหรียญ (ราว 550,000 บาท)
อย่างไรก็ตาม การนอนบนเตียงนี้อาจไม่ใช่เรื่อง่ายขนาดที่คุณฝันเอาไว้ เพราะมันเป็นเตียงที่ต่างจากเตียงแบบทั่วไปอย่างสิ้นเชิง โดยมันเป็นเตียงที่ถูกวางเอียงห้อยหัวลงทำเป็นมุม 6 องศา ทำให้ของเหลวในร่างกายไหลไปอยู่ที่ส่วนบน และเราก็ต้องอยู่บนเตียงนอนนั้นตลอดเวลา แม้แต่เวลาที่จะอาบน้ำหรือขับถ่าย NASA ก็จะจัดสุขาเคลื่อนที่มาให้เราได้ใช้ทั้ง ๆ ที่อยู่บนเตียงนี้แหละ
ซึ่งเหตุผลในการจัดโครงการนี้ขึ้นก็ไม่ใช่เพื่อทรมานคนเล่นแต่อย่างใด แต่มันเกิดขึ้นเพื่อใช้วิจัยหาสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักบินอวกาศ และนำไปเป็นแนวทางหาทางคิดค้นวิธีแก้ไขต่อไปต่างหาก เพราะเมื่อเผชิญกับสภาวะไร้แรงดึงดูดบนอวกาศ นักบินอวกาศก็มักประสบปัญหาเรื่องระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะของเหลวในร่างกายไหลสู่ด้านบนเช่นกัน
ทั้งนี้อาสาสมัครจะต้องปฏิบัติภารกิจที่ NASA\'s Flight Analogs Research Unit (FARU) (หน่วยวิจัยการบินอนาล็อก ขององค์การนาซา) ที่ University of Texas Medical Galveston (มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เทกซัส เมืองกัลเวสตัน รัฐเทกซัส) โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ต้องนอนนานถึง 105 วัน และต้องทำกิจกรรมต้านแรงโน้มถ่วงต่าง ๆ รวมถึงการออกกำลังแบบแอโรบิค ทั้งที่นอนอยู่บนเตียง ส่วนอีกกลุ่มอยู่เพียงแค่ 97 วันเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมใด ๆ ซึ่งอาสาสมัครสามารถเล่นเฟซบุ๊ก เล่นเกม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามใจ ขอแค่ไม่ลุกออกจากเตียงเท่านั้น
โดยอาสาสมัครจะได้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 1,200 เหรียญสหรัฐ (ราว 37,000 บาท) ทุก ๆ สัปดาห์ และเมื่ออยู่ได้ถึง 70 วัน ก็จะได้พักฟื้นร่างกายก่อนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ส่วนเรื่องความปลอดภัยนั้นไม่ต้องเป็นห่วงเลย เพราะอาสาสมัครสำหรับโครงการนี้ รับแต่คนที่ไม่สูบบุหรี่ และมีสุขภาพแข็งแรง ผ่านการตรวจสอบจาก Modified Air Force Class III physical (สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ชั้นที่ 3) เท่านั้น แถมยังมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
ซึ่ง ฮีเธอร์ อาร์ชูเล็ตตา หนึ่งในอาสาสมัครจากโครงการนี้เผยว่าแม้มันจะเป็นเรื่องท้าทายพอสมควร แต่เธอก็พยายามเตือนตัวเองเสมอว่ามันเป็นการวิจัยเพื่อนักบินอวกาศ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้นแม้อยู่บนอวกาศ ที่จริงแล้วพอเข้าสู่วันที่ 54 เธอปวดเท้าเหมือนเดินหนัก ๆ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ดี มันเป็นสิ่งที่นักบินอวกาศทุกคนเคยเจอ และมันก็น่าสนใจมากที่จะได้ลองสัมผัสประสบการณ์แบบพวกเขาดูบ้าง
คุณเป็นคนหนึ่งที่ฝันอยากนอนบนเตียงโดยไม่ต้องทำอะไรทั้งวัน แต่มีเงินเข้ากระเป๋าสบาย ๆ หรือเปล่า? ภารกิจใหม่ล่าสุดของ NASA ที่กำลังรออาสาสมัคร จะช่วยให้ฝันของคุณเป็นจริง ด้วยการนอนบนเตียงเฉย ๆ เป็นเวลายาวนานอย่างน้อย 70 วัน จากนั้นก็จะได้รับเงินมากถึง 18,000 เหรียญ (ราว 550,000 บาท)
อย่างไรก็ตาม การนอนบนเตียงนี้อาจไม่ใช่เรื่อง่ายขนาดที่คุณฝันเอาไว้ เพราะมันเป็นเตียงที่ต่างจากเตียงแบบทั่วไปอย่างสิ้นเชิง โดยมันเป็นเตียงที่ถูกวางเอียงห้อยหัวลงทำเป็นมุม 6 องศา ทำให้ของเหลวในร่างกายไหลไปอยู่ที่ส่วนบน และเราก็ต้องอยู่บนเตียงนอนนั้นตลอดเวลา แม้แต่เวลาที่จะอาบน้ำหรือขับถ่าย NASA ก็จะจัดสุขาเคลื่อนที่มาให้เราได้ใช้ทั้ง ๆ ที่อยู่บนเตียงนี้แหละ
ซึ่งเหตุผลในการจัดโครงการนี้ขึ้นก็ไม่ใช่เพื่อทรมานคนเล่นแต่อย่างใด แต่มันเกิดขึ้นเพื่อใช้วิจัยหาสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักบินอวกาศ และนำไปเป็นแนวทางหาทางคิดค้นวิธีแก้ไขต่อไปต่างหาก เพราะเมื่อเผชิญกับสภาวะไร้แรงดึงดูดบนอวกาศ นักบินอวกาศก็มักประสบปัญหาเรื่องระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะของเหลวในร่างกายไหลสู่ด้านบนเช่นกัน
ทั้งนี้อาสาสมัครจะต้องปฏิบัติภารกิจที่ NASA\'s Flight Analogs Research Unit (FARU) (หน่วยวิจัยการบินอนาล็อก ขององค์การนาซา) ที่ University of Texas Medical Galveston (มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เทกซัส เมืองกัลเวสตัน รัฐเทกซัส) โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ต้องนอนนานถึง 105 วัน และต้องทำกิจกรรมต้านแรงโน้มถ่วงต่าง ๆ รวมถึงการออกกำลังแบบแอโรบิค ทั้งที่นอนอยู่บนเตียง ส่วนอีกกลุ่มอยู่เพียงแค่ 97 วันเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมใด ๆ ซึ่งอาสาสมัครสามารถเล่นเฟซบุ๊ก เล่นเกม หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามใจ ขอแค่ไม่ลุกออกจากเตียงเท่านั้น
โดยอาสาสมัครจะได้ค่าตอบแทนเป็นเงิน 1,200 เหรียญสหรัฐ (ราว 37,000 บาท) ทุก ๆ สัปดาห์ และเมื่ออยู่ได้ถึง 70 วัน ก็จะได้พักฟื้นร่างกายก่อนเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ส่วนเรื่องความปลอดภัยนั้นไม่ต้องเป็นห่วงเลย เพราะอาสาสมัครสำหรับโครงการนี้ รับแต่คนที่ไม่สูบบุหรี่ และมีสุขภาพแข็งแรง ผ่านการตรวจสอบจาก Modified Air Force Class III physical (สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ชั้นที่ 3) เท่านั้น แถมยังมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
ซึ่ง ฮีเธอร์ อาร์ชูเล็ตตา หนึ่งในอาสาสมัครจากโครงการนี้เผยว่าแม้มันจะเป็นเรื่องท้าทายพอสมควร แต่เธอก็พยายามเตือนตัวเองเสมอว่ามันเป็นการวิจัยเพื่อนักบินอวกาศ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้นแม้อยู่บนอวกาศ ที่จริงแล้วพอเข้าสู่วันที่ 54 เธอปวดเท้าเหมือนเดินหนัก ๆ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อย่างไรก็ดี มันเป็นสิ่งที่นักบินอวกาศทุกคนเคยเจอ และมันก็น่าสนใจมากที่จะได้ลองสัมผัสประสบการณ์แบบพวกเขาดูบ้าง