

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Universe Today โดย Jason Major
กล้องโทรทรรศน์ Cassini ของ NASA และ JPL สามารถจับภาพที่ Iapetus ดาวบริวารของดาวเสาร์เคลื่อนตัวมาบดบังดวงดาว Bellatrix ดาวทางปีกซ้ายของ โอไรออน เนบิวลา เอาไว้ได้ ซึ่งตามหลักดาราศาสตร์จะเรียกปรากฏการณ์ที่ดาวขนาดใหญ่กว่าเคลื่อนตัวผ่านดาวที่มีขนาดเล็กกว่าแบบนี้ว่า "การบัง" (Occultation)
โดย Iapetus เป็นดาวที่รู้จักกันดีจากลักษณะอันแสนจะโดดเด่นของมัน ที่มีสองด้านแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยด้านหนึ่งเป็นน้ำแข็งยาว 914 ไมล์ ในขณะที่อีกด้านเป็นสีแดงทึบ เหมือนกับรูปแบบของสัญลักษณ์หยินหยางที่ด้านหนึ่งเป็นความสว่าง อีกด้านเป็นความมืดมิดอย่างไรอย่างนั้น
ทั้งนี้คาดว่าสาเหตุที่ทำให้ Iapetus ซึ่งโคจรรอบดาวเสาร์ด้วยระยะห่าง 3,561,300 กิโลเมตร มีลักษณะการบดบังเช่นนี้ น่าจะมาจากการโคจรทำให้มันถูกแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้น้ำตรงส่วนน้ำแข็งระเหิด เกิดเป็นภาพความแห้งแล้งมืดมน ผิดกับอีกด้านที่เป็นแผ่นน้ำแข็งก็เป็นได้ ซึ่งเมื่อจับภาพออกมาก็จะเห็น Iapetus กำลังเคลื่อนตัวเข้าบดบังดาว Bellatrix อย่างช้า ๆ จนมืดมิดหายไป ก่อนจะเคลื่อนตัวผ่านไป ปล่อยให้ดาว Bellatrix ส่องแสงสว่างตามเดิม ดูไปดูมาก็เหมือนเกมแพคแมนเหมือนกันแฮะ
หมายเหตุ : แก้ไขข้อมูลเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 เวลา 11.52 น. ขอบคุณค่ะ