x close

นาซาทดลองผลิตชิ้นส่วนจรวด ด้วยเครื่องพริ้นท์ 3 มิติ เป็นผลสำเร็จ

นาซาทดลองผลิตชิ้นส่วนจรวด ด้วยเครื่องพริ้นท์ 3 มิติ เป็นผลสำเร็จ

นาซาทดลองผลิตชิ้นส่วนจรวด ด้วยเครื่องพริ้นท์ 3 มิติ เป็นผลสำเร็จ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก nasa.gov

          องค์การนาซา เผยความคืบหน้า หลังทดลองผลิตชิ้นส่วนจรวดด้วยเครื่องพริ้นท์ 3 มิติ (3D-Printed) เป็นผลสำเร็จ คาดหากนำมาใช้จะทำให้ผลิตชิ้นส่วนได้เร็วขึ้น และช่วยลดต้นทุนได้ด้วย

          เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ที่่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งสหรัฐฯ (นาซา) เปิดเผยว่า พวกเขาใช้เวลานานร่วมปีในการพัฒนาเครื่องพริ้นท์ 3 มิติ (3D-Printed) จนในที่สุดก็เป็นผลสำเร็จ เมื่อเครื่องพริ้นท์ 3 มิติที่ออกแบบมา สามารถผลิตชิ้นส่วนจรวดได้จริง ซึ่งการทดลองดังกล่าวช่วยร่นระยะเวลา และลดต้นทุนในการสร้างจรวดได้ถึง 70%

          ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้นาซาพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมา เพราะก่อนหน้านี้จะต้องใช้อุปกรณ์สำรองแทนทุกครั้ง ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้อง หรือหากปัญหายากเกินกว่าที่จะแก้ไขเมื่ออยู่ในห้วงอวกาศ นักบินอวกาศจึงอาจจะต้องสละยานอวกาศออกมา แต่หากนาซาสามารถนำเครื่องพริ้นท์ 3 มิติ เข้าไปติดตั้งในยานอวกาศได้ นักบินอวกาศก็จะสามารถซ่อมแซมหรือสร้างชิ้นส่วนที่บกพร่องมาทดแทนได้ทันที

          ทั้งนี้เครื่องพริ้นท์ 3 มิติที่องค์การนาซานำมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนจรวดมีชื่อว่า SLS หรือ Selective Laser Sintering กระบวนการการทำงานของเครื่องพริ้นท์ 3 มิติประเภทนี้ก็คือ ใช้ลำแสงเลเซอร์กำลังสูงหลอมละลายและรวมกลุ่มอนุภาคผงโลหะเข้าด้วยกัน ให้เป็นชิ้นส่วนจรวดตามโมเดลของโปรแกรมที่ป้อนเข้าไป

          เจฟ เฮนเนส ผู้ช่วยโครงการนี้กล่าวว่า ความสำเร็จในครั้งนี้ทำให้พวกเขาทราบอีกด้วยว่า จะดัดแปลงจากโมเดลต้นแบบไปเป็นชิ้นส่วนขนาดปกติที่สามารถนำไปงานจริงได้อย่างไร โดยเฉพาะในส่วนของหัวฉีด อันเป็นหัวใจสำคัญของเครื่องยนต์และมีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ

          ทางด้านนายไมเคิล กาซาริก รองผู้อำนวยการสำนักอำนวยการเทคโนโลยีอวกาศของนาซา กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า หลังจากนี้อาจจะมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบ สำหรับใช้กับการผลิตชิ้นส่วนยานอวกาศในอนาคตอีกด้วย





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
นาซาทดลองผลิตชิ้นส่วนจรวด ด้วยเครื่องพริ้นท์ 3 มิติ เป็นผลสำเร็จ อัปเดตล่าสุด 16 กรกฎาคม 2556 เวลา 15:20:23 1,848 อ่าน
TOP