x close

ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล

ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล

ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล

ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก SPACE.COM

          ไม่นานมานี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขององค์กร NASA ได้จับภาพ "ดาวหาง ISON" ซึ่งมีโอกาสเป็นหนึ่งในดาวหางที่สว่างมากที่สุดเท่าที่โลกเคยพบเห็น โดยมันถูกจับภาพเอาไว้ได้ในขณะที่เคลื่อนตัวเข้ามาอยู่ในระยะห่างประมาณ 621 ล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ และ 634 ล้านกิโลเมตรจากโลก ซึ่งเรียกว่าอยู่ใกล้ยิ่งกว่าดาวพฤหัสเสียอีก

          จากรูปที่เห็นทำให้นักดาราศาสตร์คาดคะเนว่า หากดาวหาง ISON นั้นเคลื่อนตัวไปอยู่ในจุดใกล้เคียงกับพระอาทิตย์มากที่สุด ในเดือนพฤศจิกายน 2556 มันน่าจะมีความสว่างใกล้เคียงกับพระจันทร์เต็มดวงเลยทีเดียว ทั้งนี้ดาวหางนี้มีกลุ่มเมฆล้อมรอบส่วนหัวกว้างประมาณ 5,000 กิโลเมตร ขณะที่ส่วนหางยาวกว่า 92,000 กิโลเมตร แต่กลับมีใจกลางขนาดเล็ก อยู่ที่ประมาณ 4.8 - 6.5 กิโลเมตรเท่านั้น

          โดยในวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ คาดว่า ISON จะเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ภายในระยะ 1.2 ล้านกิโลเมตร อย่างไรก็ดี มันยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับนักดาราศาสตร์ทั้งหลาย ที่จะชี้ชัดได้ว่าดาวหาง ISON จะกลายมาเป็นหนึ่งในดาวหางที่สว่างที่สุดหรือไม่ เพราะเมื่อมันเคลื่อนตัวต่อไปแล้ว อาจยังคงสว่างอยู่ หรือดับแสงลงไปก่อนเหมือนดาวหาง Kohoutek ที่เคยเกือบเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดเมื่อปี 1973 ก็ได้ทั้งนี้ เจียน หยาง ลี ตัวแทนจากองค์กร Planetary Science Institute ในรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมที่จับภาพดาวหาง ISON ไว้ได้ กล่าวว่า จากการที่ครั้งนี้เป็นการมาเยือนระบบสุริยะชั้นในครั้งแรกของดาวหาง ISON ทำให้นักดาราศาสตร์มีโอกาสที่จะได้ศึกษารูปแบบการเดินทางของดาวหางใหม่นี้ รวมทั้งการวัดความสว่างเมื่อเคลื่อนตัวใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ยังเป็นสิ่งสำคัญที่น่าจับตามอง

          ซึ่งไม่ว่าดาวหางนี้จะสุกสว่างมากเท่าที่คาดหวังไว้หรือไม่ มันก็คุ้มค่ากับการติดตามเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดอยู่ดี องค์กร NASA จึงได้จัดตั้งกลุ่มสังเกตการณ์ดาวหาง ISON นี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด ทั้งจากพื้นโลกและบนอวกาศ ส่วนคนทั่วไปอย่างเรานั้น คงต้องรอติดตามกันต่อไปล่ะว่า ดาวหาง ISON จะกลายเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดขึ้นมาได้จริง ๆ หรือไม่


ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล

ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล

ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล

ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ชมภาพ ISON ว่าที่ดาวหางแห่งปี ผ่านกล้องฮับเบิล อัปเดตล่าสุด 3 กรกฎาคม 2556 เวลา 14:52:19
TOP