วิธีถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวง ต้องเตรียมตัวยังไงให้เก็บภาพ ซูเปอร์บลูบลัดมูน ได้อย่างเต็มที่ไม่มีพลาด
อย่างที่บอกว่าปรากฏการณ์จันทรุปราคา จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยรอบที่ 2 ของปีนี้ดวงจันทร์จะถูกกลืนเป็นสีแดงอิฐเต็มดวงตั้งแต่เวลา 02.30 - 04.13 น. เท่ากับมีเวลาถ่ายภาพแค่ 1 ชั่วโมง 43 นาที เท่านั้น
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมคือ กล้องถ่ายรูป จะเป็นกล้อง DSLR หรือ Mirrorless ก็ได้ เตรียมแบตเตอรี่ให้พร้อม เลนส์ที่แนะนำเป็นเลนส์ Telephoto หรือเลนส์ระยะไกล เพราะจะทำให้เห็นดวงจันทร์กลมใหญ่และได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือขาตั้งกล้อง ตัวช่วยที่จะทำให้ได้ภาพที่นิ่งและชัดเจนที่สุด อย่าลืมหาไฟฉายติดตัวไว้ด้วย จะได้เตรียมอุปกรณ์ในที่มืดได้สะดวก
โหมดถ่ายภาพที่จะใช้คือ Manual หรือปรับด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากปรับค่า ISO ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดันค่า F-Stop ไปที่ 11.0 หรือสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ตั้ง Speed Shutter ไว้ที่ 1/100 – 1/200 sec ซึ่งค่านี้จะทำให้บันทึกแสงเงา รายละเอียดของดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจนไม่โอเว่อร์จนเกินไป (ทั้งนี้ค่า ISO หรือ SS อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์จริง ส่วน F-Stop ยังคงเดิมเพื่อความชัดเจนของดวงจันทร์)
สามารถใช้ Auto Focus ได้ปกติ แต่ในกรณีระยะซูมของเลนส์ไม่มากพอ สามารถปรับเป็น Manual Focus แล้วใช้ Magnifier และ Peaking ช่วยได้ ส่วน White Balance จะตั้งเป็น Auto หรือ Daylight ก็ได้ อย่าลืมปรับการบันทึกภาพเป็นไฟล์ RAW ด้วย เผื่อผิดพลาดจะได้นำไปปรับแก้ White Balance ในภายหลังได้
สิ่งที่ต้องระวังที่สุดเลยคือการสั่นไหวที่จะทำให้ภาพของคุณออกมาเบลอได้ ฉะนั้นเมื่อใช้ขาตั้งกล้องจะต้องล็อกและถ่วงให้นิ่งที่สุด ปิดระบบกันสั่น แล้วหาสายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทกล้องมาใช้ เพื่อความนิ่งและคมชัดขั้นสุด ส่วนเรื่องมุมภาพและสถานที่นั้น ขึ้นอยู่กับกึ๋นของแต่ละคนแล้วล่ะ ว่าจะหาได้ดีมากน้อยแค่ไหน
เท่านี้ก็ทราบแล้วนะครับ ว่าจะเก็บภาพ ซูเปอร์บลูบลัดมูน จะต้องตั้งค่ากล้องและเตรียมตัวอะไรบ้าง ยังไงก็อย่าลืมนำเทคนิคดี ๆ นี้ไปลองใช้กันด้วยนะครับ จะได้เก็บภาพได้อย่างเต็มที่และไม่ผิดพลาด
ข้อมูลและภาพจาก : ZoomCamera
เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติสุดพิเศษที่นักถ่ายภาพทุกคนไม่ควรพลาดด้วยประกาศทั้งปวง
หลังทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ประกาศแล้วว่า คืนวันที่ 27 กรกฎาคม
ถึงเช้าวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ดาวอังคารจะโคตรอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์
ก่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 15 ปี ทำให้สว่างและมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
นอกจากนี้ในคืนเดียวกันยังมี จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ในรอบปีอีกด้วย หลังเคยปรากฏครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา วันเดียวเกิด 2 ปรากฏการณ์ซ้อนกันแบบนี้ บอกเลยว่าไม่ได้มีมาให้เห็นบ่อย ๆ
แน่นอนว่าเมื่อโอกาสดี ๆ แบบนี้มาถึง เหล่าคนรักการถ่ายภาพ ต้องไม่พลาดที่จะเก็บชอตสำคัญกันอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ วิธีถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวงจาก ZoomCamera มาฝากเพื่อน ๆ ทุกคนกันครับ จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างมาดูกันเลย...
แน่นอนว่าเมื่อโอกาสดี ๆ แบบนี้มาถึง เหล่าคนรักการถ่ายภาพ ต้องไม่พลาดที่จะเก็บชอตสำคัญกันอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น กระปุกดอทคอมจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ วิธีถ่ายภาพจันทรุปราคาเต็มดวงจาก ZoomCamera มาฝากเพื่อน ๆ ทุกคนกันครับ จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างมาดูกันเลย...
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมคือ กล้องถ่ายรูป จะเป็นกล้อง DSLR หรือ Mirrorless ก็ได้ เตรียมแบตเตอรี่ให้พร้อม เลนส์ที่แนะนำเป็นเลนส์ Telephoto หรือเลนส์ระยะไกล เพราะจะทำให้เห็นดวงจันทร์กลมใหญ่และได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือขาตั้งกล้อง ตัวช่วยที่จะทำให้ได้ภาพที่นิ่งและชัดเจนที่สุด อย่าลืมหาไฟฉายติดตัวไว้ด้วย จะได้เตรียมอุปกรณ์ในที่มืดได้สะดวก
โหมดถ่ายภาพที่จะใช้คือ Manual หรือปรับด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากปรับค่า ISO ให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดันค่า F-Stop ไปที่ 11.0 หรือสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ตั้ง Speed Shutter ไว้ที่ 1/100 – 1/200 sec ซึ่งค่านี้จะทำให้บันทึกแสงเงา รายละเอียดของดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจนไม่โอเว่อร์จนเกินไป (ทั้งนี้ค่า ISO หรือ SS อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์จริง ส่วน F-Stop ยังคงเดิมเพื่อความชัดเจนของดวงจันทร์)
สามารถใช้ Auto Focus ได้ปกติ แต่ในกรณีระยะซูมของเลนส์ไม่มากพอ สามารถปรับเป็น Manual Focus แล้วใช้ Magnifier และ Peaking ช่วยได้ ส่วน White Balance จะตั้งเป็น Auto หรือ Daylight ก็ได้ อย่าลืมปรับการบันทึกภาพเป็นไฟล์ RAW ด้วย เผื่อผิดพลาดจะได้นำไปปรับแก้ White Balance ในภายหลังได้
สิ่งที่ต้องระวังที่สุดเลยคือการสั่นไหวที่จะทำให้ภาพของคุณออกมาเบลอได้ ฉะนั้นเมื่อใช้ขาตั้งกล้องจะต้องล็อกและถ่วงให้นิ่งที่สุด ปิดระบบกันสั่น แล้วหาสายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทกล้องมาใช้ เพื่อความนิ่งและคมชัดขั้นสุด ส่วนเรื่องมุมภาพและสถานที่นั้น ขึ้นอยู่กับกึ๋นของแต่ละคนแล้วล่ะ ว่าจะหาได้ดีมากน้อยแค่ไหน
เท่านี้ก็ทราบแล้วนะครับ ว่าจะเก็บภาพ ซูเปอร์บลูบลัดมูน จะต้องตั้งค่ากล้องและเตรียมตัวอะไรบ้าง ยังไงก็อย่าลืมนำเทคนิคดี ๆ นี้ไปลองใช้กันด้วยนะครับ จะได้เก็บภาพได้อย่างเต็มที่และไม่ผิดพลาด
ข้อมูลและภาพจาก : ZoomCamera