x close

เฟซบุ๊กโดนฟ้อง หลังละเมิดสิทธิบัตรปุ่มไลค์



เฟซบุ๊กโดนฟ้อง หลังละเมิดสิทธิบัตรปุ่มไลค์

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า เฟซบุ๊ก โซเซียลเน็ตเวิร์กชื่อดัง ถูกฟ้องร้องเนื่องจากละเมิดลิขสิทธิ์การใช้ปุ่มไลค์ รวมไปถึงฟีเจอร์อื่น ๆ บนเครือข่ายโซเซียลเน็ตเวิร์ก หลังมีการแฉว่าคนคิดค้นปุ่มไลค์ จริง ๆ แล้วคือโปรแกรมเมอร์ชาวฮอลแลนด์

           โดยบริษัท เรมแบรนท์ โซเชียล มีเดีย ได้ออกมาเปิดเผยว่า บริษัทได้ถือลิขสิทธิ์ปุ่มไลค์ แทนตัวนาย โจนส์ โจเซฟ เอเวอราดุส  ฟาน เดอร์ เมียร์ โปรแกรมเมอร์ชาวฮอลแลนด์ ผู้คิดค้นปุ่มไลค์ที่เสียชีวิตไปเมื่อปี 2004 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ส่วนหนึ่งของความสำเร็จของเฟซบุ๊กนั้น มีพื้นฐานมาจากผลงานสองชิ้นของนายฟานเดอเมียร์ ที่ได้จดสิทธิบัตรเอาไว้แล้ว และเฟซบุ๊กก็นำฟีเจอร์เหล่านั้นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทางเฟซบุ๊ก ก็ไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อคดีความหรือข้อกล่าวหาดังกล่าว

           ทั้งนี้ บริษัทเรมแบรนท์ได้ยื่นคดีความดังกล่าว แก่ศาลรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ที่รัฐเวอร์จิเนีย โดยนายทอม เมลไชเมอร์ ทนายจากสำนักงานทนายความ ฟิชแอนด์ริชาร์ดสัน ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ถือลิขสิทธิ์ กล่าวว่า "ทางเราเชื่อว่า ลิขสิทธิ์ที่บริษัทเรมแบรนท์ถืออยู่นี้ ถือเป็นรากฐานสำคัญของโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน และทางเราก็คาดหวังว่า ผู้พิพากษาและคณะลูกขุน จะได้ข้อสรุปที่ดี เมื่อพิจารณาตามหลักฐานที่ปรากฏ"

           ในขณะนี้ บริษัทเรมแบรนท์ เป็นเจ้าของสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีที่นายฟาน เดอ เมียร์ คิดค้นขึ้น และใช้ในการสร้างโซเชียลเน็ตเวิร์คที่เรียกว่า เซิร์ฟบุ๊ก  โดยนายฟาน เดอ เมียร์ ได้จดสิทธิบัตรปุ่มไลค์ในปี 1998 เพียง 5 ปีก่อนที่เว็บไซต์เฟซบุ๊กจะถือกำเนิด

           ตามรายงาน ระบุไว้ว่า เซิร์ฟบุ๊ค เป็นไดอารี่ออนไลน์ที่ให้ทุกคนเข้ามาแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ให้กับเพื่อนและครอบครัว รวมทั้งยืนยันความถูกต้องของข้อมูลด้วยปุ่มไลค์ และทางเฟซบุ๊กเอง ก็รู้ดีถึงลิขสิทธิ์ชิ้นนี้ ด้วยการอ้างชื่อของผู้คิดค้นไว้ในโปรแกรมของตัวเอง แต่กลับไม่เคยขออนุญาตอย่างจริงจัง



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เฟซบุ๊กโดนฟ้อง หลังละเมิดสิทธิบัตรปุ่มไลค์ อัปเดตล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 17:47:25
TOP