x close

6 เทคนิคการควบคุมแสงแฟลชให้สวยด้วยเครื่องวัดแสง

แสงแฟลช

          สร้างสรรค์แสงแฟลชเพื่อภาพที่สวยงาม ด้วยเครื่องวัดแสง อุปกรณ์สำคัญสำหรับช่างภาพ

          เชื่อว่าช่างภาพมือใหม่จำนวนไม่น้อยที่ลองใช้ แฟลชแยก เป็นตัวช่วย เพราะหวังว่าจะได้ภาพที่สวยงามตามที่คิดไว้ แต่ทว่าหลาย ๆ ครั้งกลับไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ นั่นอาจเป็นเพราะกล้องของคุณวัดแสงได้ไม่แม่นยำเท่าที่ควร วันนี้เราจึงนำวิธีการใช้เครื่องวัดแสงมาแนะนำกันแล้วครับ

          1. ระบบวัดแสงของกล้องไม่ค่อยแม่นยำเท่าที่ควร

แสงแฟลช
ภาพตัวอย่างที่ 1 แสงที่วัตถุด้านหน้าจะดูสว่าง ในขณะที่ฉากหลังค่อนข้างมืด

แสงแฟลช
ภาพตัวอย่างที่ 2 ความสว่างของแสงที่วัตถุด้านหน้าตกลงไปอย่างเห็นได้ชัด แต่ฉากหลังก็ไม่ได้สว่างขึ้น

แสงแฟลช
ภาพตัวอย่างที่ 3 ปรับความเร็วชัตเตอร์อยู่ที่ 1/13 วินาที ก็จะได้แสงฉากหลังสวย ๆ ส่วนวัตถุด้านหน้าจะมืดไปเลย

          ในบางครั้ง เมื่อแสงที่ฉากหลังไม่สมดุลกับวัตถุหลักที่ต้องการจะเก็บภาพ ก็อาจทำให้ปวดหัวได้ เมื่อต้องใช้ระบบวัดแสงของกล้อง เห็นได้ชัดจากภาพตัวอย่างทั้ง 3 ภาพ ซึ่ง 2 ภาพแรก เปิดรูรับแสงไว้ที่ f/4 และความไวแสงอยู่ที่ ISO 400 พร้อมเปิดแฟลชที่โหมด ETTL โดยภาพแรกใช้โหมด A และระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Matrix หรือ Evaluative Metering) ส่วนอีกภาพใช้ระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุด (Spot Metering) ในขณะที่ภาพที่ 3 ใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ แต่ไม่ใช้แฟลชช่วย ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจาก 2 ภาพแรกอย่างเห็นได้ชัด แต่ยังไม่ได้แสงที่สวยงามอยู่ดี

          2. เลือกใช้เครื่องวัดแสงช่วย

แสงแฟลช

          เรียกได้ว่า เครื่องวัดแสง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับช่างภาพแทบทุกคน เพราะจะช่วยบอกได้ว่าควรตั้งค่ากล้องและแฟลชอย่างไร เพื่อให้ได้แสงที่สวยงามที่สุด แต่ช่างภาพมือใหม่ที่ยังไม่เคยใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้คงต้องใช้เวลาสักหน่อย สำหรับการอ่านค่าแสง รวมถึงลองใช้โหมดต่าง ๆ ของเครื่องวัดแสงนั่นเอง

          3. ลองวัดแสงที่ฉากหลังก่อน

แสงแฟลช
จากขั้นตอนนี้ จะเห็นว่าแสงที่ฉากหลังจะสว่างพอดี แต่วัตถุด้านหน้าค่อนข้างมืด

          ก่อนอื่นให้ตั้งค่ากล้องอยู่ที่โหมด M และเปิดรูรับแสงไว้ที่ f/4 เช่นเดิม จากนั้นก็ใช้เครื่องวัดแสงเพื่อเช็กแสงที่ฉากหลังด้วยระบบวัดแสงเฉพาะจุด สำหรับภาพนี้เครื่องดังกล่าวโชว์ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/10 วินาที จากนั้นก็ตั้งค่ากล้องตามที่เครื่องวัดแสงบอก แล้วลองลั่นชัตเตอร์ได้เลย ก็จะได้แสงตามภาพตัวอย่าง

          4. วัดแสงจากวัตถุหลัก

แสงแฟลช
สำหรับวิธีนี้จะทำให้ได้แสงที่สว่างเกินไปทั้งที่ตัววัตถุและฉากหลัง

          แนะนำว่าให้เลือกใช้แฟลชแยกแทนแฟลชหัวกล้อง เพราะแสงจากแฟลชหัวกล้องนั้นดูแข็งและทื่อเกินไป ให้เปลี่ยนโหมดของเครื่องวัดแสงเป็น Incident Mode สำหรับวัดแสงที่ตกกระทบวัตถุโดยตรง แล้วเริ่มวัดแสงได้ด้วยการถืออุปกรณ์ใกล้วัตถุ พร้อมหันโดมสีขาวบนตัวเครื่องเข้าหากล้อง จากนั้นก็กดวัดแสงได้เลย ซึ่งในภาพนี้อ่านค่าแสงได้ที่ f/19

          5. ปรับค่ากล้องและเครื่องวัดแสงให้เหมาะสม

แสงแฟลช
หลังจากวัดแสงอีกครั้ง แสงในภาพที่ได้จะสมดุลกันทั้งวัตถุหลักและฉากหลัง

          จากข้อ 4 ตัวอุปกรณ์อ่านค่าแสงได้ที่ f/19 ในขณะที่รูรับแสงของกล้องอยู่ที่ f/4 ส่งผลให้ภาพที่ออกมาดูสว่างเกินไป ก็ให้ปรับกำลังไฟของแฟลชไปที่ 1/32 แล้วให้วัดแสงที่ตัววัตถุอีกครั้งหนึ่ง หากเครื่องอ่านได้ที่ f/4 ก็ลองถ่ายได้เลย

          6. เพิ่มความโดดเด่นให้วัตถุหลัก

แสงแฟลช
ภาพนี้เพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้น 1 สต็อป อยู่ที่ 1/20 วินาที ความสว่างของฉากหลังจะลดลง

แสงแฟลช
ภาพนี้เพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้น 2 สต็อป เป็น 1/40 วินาที แสงที่ฉากหลังก็จะมืดเข้าไปอีก

          แม้ว่าจะได้แสงที่สวยงามแล้ว แต่ถ้าอยากทำให้วัตถุหรือบุคคลในภาพดูโดดเด่นมากกว่าเดิม ก็ให้เพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้นทีละ 1-2 สต็อป จนกว่าจะได้ภาพที่ต้องการ ซึ่งวิธีนี้จะไปลดความสว่างของฉากหลัง โดยที่แสงที่วัตถุหลักยังคงเหมือนเดิม

ภาพจาก digital-photography-school, tutsplus, digitalcameraworld

ข้อมูลจาก digital-photography-school

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
6 เทคนิคการควบคุมแสงแฟลชให้สวยด้วยเครื่องวัดแสง อัปเดตล่าสุด 27 มิถุนายน 2559 เวลา 16:39:27 6,147 อ่าน
TOP