x close

5 ปัญหาสุขภาพจ้าวโลกเมื่ออายุมากขึ้นที่ผู้ชายควรรู้


ปัญหาสุขภาพจ้าวโลก
ปัญหาสุขภาพจ้าวโลกเมื่ออายุมากขึ้นที่ผู้ชายควรรู้ 


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชาย ที่อาจเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เพื่อเตรียมตัวรับมือและป้องกัน

          คุณผู้ชายหลายคนที่ไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องสุขภาพของน้องชายสักเท่าไร เพราะอาจคิดว่าตัวเองมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่แล้ว คงต้องหันมาใส่ใจน้องชายให้มากขึ้นแล้วล่ะ เพราะสิ่งที่กระปุกดอทคอมหยิบเอามาฝากกันในวันนี้ เป็นเรื่องของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับจ้าวโลกของคุณเมื่ออายุมากขึ้นจากเว็บไซต์ huffingtonpost มาแนะนำให้ทราบกันครับ

มีขนาดสั้นลง
          1. ความเปลี่ยนแปลงของสีที่อวัยวะเพศชาย

          ดร. เมเดลีน คาสเทลลานอส นักบำบัดทางเพศและเป็นผู้เขียนหนังสือ Penis Problems: A Man\'s Guide เผยว่า โรคหลอดเลือดแดงแข็งเป็นโรคทั่วไปที่เกิดขึ้นตามอายุของคน ซึ่งโรคดังกล่าวส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด การทำงานของสมอง และหัวใจให้ผิดปกติ รวมถึงเปลี่ยนสีของน้องชายให้มีสีอ่อนลง เป็นเพราะเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามคุณผู้ชายก็ไม่ต้องวิตกกังวลมากเกินไป เพราะตราบใดที่อวัยวะทุกอย่างในร่างกายทำงานปกติ ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล ซึ่งน้องชายที่ผิวมีรอยด่าง ก็เหมือนกับสีผิวส่วนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีอายุมาก
          2. น้องชายมีขนาดสั้นลง

          การหดตัวของอวัยวะเพศชายเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการไหลเวียนของเลือดและฮอร์โมนเพศชายที่เสื่อมลงไปตามวัย โดย ดร.คาสเทลลานอส กล่าวว่า อวัยวะเพศของผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี อาจจะค่อย ๆ สั้นลงทีละ 1 เซนติเมตร จนเหลือความยาวเพียงครึ่งหนึ่ง ไม่เพียงเท่านี้ ผู้ชายที่มีพุงขนาดใหญ่ จะส่งผลให้องคชาตดูสั้นลงด้วย เพราะขนาดของหน้าท้องจะกินเนื้อที่ฐานของอวัยวะเพศจนทำให้ดูสั้นลงนั่นเอง

          อย่างไรก็ดี ลู เพจ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Great Lover Playbook บอกว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจเรื่องขนาดของอวัยวะเพศของหนุ่ม ๆ สักเท่าไร เพราะถ้าน้องชายมีขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้ฝ่ายหญิงเจ็บได้ เมื่อร่วมรักกัน

การตอบสนองที่ช้าลง
          3. การตอบสนองที่ช้าลง

          เทสโทนเตอโรนหรือฮอร์โมนเพศชายที่ควบคุมการทำงานของเนื้อเยื่อประสาทให้เป็นปกติ แต่จะส่งผลให้การตอบสนองของอวัยวะสืบพันธุ์ช้าลง ถ้าระดับของฮอร์โมนข้างต้นลดลง รวมถึงทำให้ถึงจุดสุดยอดยากขึ้นอีกด้วย โดยทางดร.คาสเทลลานอส บอกว่าผู้ชายที่ต้องการดูแลสุขภาพอวัยวะเพศของตัวเองให้แข็งแรง ควรช่วยตัวเองทุกวัน เพราะการหลั่งจะช่วยให้เลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณองคชาตมากขึ้นและทำให้เส้นเลือดแดงทำงานปกติ ซึ่งก็เหมือนกับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ แข็งแรงขึ้น

          4. ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

          นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ไม่น้อยเลยทีเดียวกับปัญหาทางเดินปัสสาวะ ที่ไม่สามารถควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้ โดยอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ของคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และ 50-60 เปอร์เซ็นต์ สำหรับอายุ 60 ปี กับ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีอายุ 70-80 ปี

          ดร.คาสเทลลานอส แนะนำวิธีป้องกันดังนี้

          ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม

          ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อเชิงกรานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการวิ่งจ๊อกกิ้งและเดินเร็ว ก็เป็นการออกกำลังที่ทำได้ง่ายและเห็นผลได้ดี รวมถึงการขมิบอวัยวะเพศด้วย

          บริโภคอาหารที่มีสังกะสีและซิลิเนียม

          ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ฮอร์โมน เทสโทนเตอโรนทำงานไม่ปกติ

           หลั่งอสุจิเป็นประจำจะช่วยให้น้องชายทำงานได้ดีขึ้น

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

          5. โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

          อาการของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมีอายุ 40 ปี และมากถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อายุ 70 ปี โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุดังนี้

          ด้านชีววิทยา ที่เกิดจากโรคภัยต่าง ๆ ที่ทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม

          ด้านจิตวิทยา เพราะมีความเครียดสะสม มีความวิตกกังวลในเรื่องต่าง ๆ และอาการซึมเศร้า

          ด้านความสัมพันธ์ เนื่องจากขาดความไว้ใจหรือมีความขัดแย้งทางอารมณ์กับคู่ของตน

          ด้านจิตวิทยาทางเพศ ซึ่งมาจากความกลัวต่อการมีเพศสัมพันธ์ของตัวเองที่อาจทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจ

          อย่างไรก็ดี ดร.คาสเทลลานอสบอกว่า หากพบปัญหาข้างต้นในข้อใดข้อหนึ่ง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายว่ามีโรคเรื้อรังหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่พบโรคใด ๆ ก็ให้ปรึกษานักบำบัดทางเพศที่สามารถช่วยคุณได้ทั้งทางกายและทางใจ นอกจากนี้ควรป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ซึ่งจะทำให้ผู้ชายมีอาการวัยทอง โดย ดร.คาสเทลลานอส แนะนำวิธีลดความเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ กินอาหารเพื่อสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมง ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เหลือวันละแก้ว เลิกสูบบุหรี่ รวมถึงไม่ควรเครียดมากเกินไปด้วย

          นอกจากนี้ ดร.คาสเทลลานอสกล่าวว่า วิธีลดความเสี่ยงข้างต้น เป็นสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมน เทสโทนเตอโรนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม โดยร่างกายจะตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และปรับตัวเองอย่างเหมาะสม ซึ่งหากมีพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น นอนหลับไม่เพียงพอ กินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และมีความเครียดต่าง ๆ จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเทสโทนเตอโรนน้อยลงตามไปด้วย ทั้งนี้ควรกินอาหารที่ช่วยสร้างฮอร์โมนดังกล่าว เมื่อร่างกายไม่ต้องการ เพราะจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายเองไม่ได้ ส่งผลให้น้องชายสั้นลงในที่สุด 

          เมื่อรู้แบบนี้แล้ว หนุ่ม ๆ ก็ควรหันมาใส่ใจสุขภาพร่างกายของตัวเองกันได้แล้ว เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับน้องชายตัวเองในอนาคตได้ยังไงล่ะครับ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
5 ปัญหาสุขภาพจ้าวโลกเมื่ออายุมากขึ้นที่ผู้ชายควรรู้ อัปเดตล่าสุด 23 มกราคม 2558 เวลา 17:31:04 7,702 อ่าน
TOP